วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

นิพพาน

ไปนิพพานน่ะ ตั้งใจให้แน่วแน่
ในเมื่อมีสิทธิ์จะไปก็ตัดสินใจให้มันแน่นอนเสีย ถ้าตั้งใจไปหมดก็ไปได้หมด ตั้งใจไปนรกก็ได้ไปนรก ถ้าเราตั้งใจจริง คนที่จะตั้งใจไปนิพพานจริง ๆ มันเป็นปรมัตถบารมี เขามีสิทธิอยู่แล้วเขาไปได้แน่นอน
ขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย
จงถือเอา \\\" อานาปานุสติกรรมฐาน \\\" นี้เป็นสำคัญ
จะขึ้นต้นด้วยกรรมฐานแบบไหนก็ตาม ต้องขึ้นต้นด้วยอานาปานุสสติกรรมฐานเสียก่อน มิฉะนั้นอารมณ์ของท่านจะฟุ้งซ่าน ไม่ทรงอารมณ์ตามอัธยาศัย

: ที่มาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

๕ ทหารเสือ

หลวงพ่อไปช่วย ๕ ทหารเสือ สมัยสงครามโลกที่ ๒

หลวงพ่อไปช่วย ๕ ทหารเสือ สมัยสงครามโลกที่ ๒ (๑. ฮิตเลอร์ ๒. มุสโสลินี ๓. เกอร์ริ่ง ๔. เปแตงค์ ๕. เชอร์ชิล)(จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม ๔)ตามที่ลงบันทึกการเดินทางของท่านแล้วจะเห็นว่าหลวงพ่อต้องฝืนทนสังขารไปโปรดลูกหลานถึงเมืองนอก เพราะเวลาก็ต่างกัน จึงทำให้ท่านต้องป่วยหนักทุกครั้ง หลังจากที่ท่านกลับมาจากอเมริกาแล้ว ในปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๑๑ พระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้เดินทางไปยุโรปอีกเพราะมีภารกิจที่สำคัญ ณ ประเทศเยอรมันท่านกลับมาแล้วจึงได้เล่าเรื่องที่ไปช่วย ๕ ทหารเสือให้พ้นจากขุมนรก โดยการสร้างพระพุทธรูปหน้าตัก ๔ ศอก ๑ องค์ แล้วก็หน้าตัก ๒๐ นิ้วอีก ๓ องค์ บวชเณร ๑ องค์ บวชพระ ๑ องค์ สังฆทาน ๑ ชุด เจริญกรรมฐาน ๗ วัน หลวงพ่อได้เล่ากล่าวต่อไปอีกว่า......"ทำบุญให้เค้าน่ะ คือว่ารับมาจะทำบุญให้ คือว่ามันเป็นวันพ้นพอดี ไม่ใช่ว่า ว่าใครจะไปช่วยกันให้ขึ้นมาจากขุมนรกน่ะ มันช่วยไม่ได้ ใช่ไหม? ก็นรกที่เขาลงมันก็ไม่ลึกแค่อเวจี เท่านั้น ไม่ลึกกว่านั้นอีกน่ะ ถ้าลึกจริงๆ เราก็มองไม่เห็น นี่มันไม่ลึกมากก็มองเห็นแต่ไม่ใช่ฉันนะ ก่อนจะไปต่างประเทศความนี้มันมีเหตุมีเรื่องแปลก นี่ฉันก็จะไปไม่ไหวแล้วแต่พระท่านให้ไปและท่านก็ไม่บอกเหตุ ไม่บอกผล นี่เราเจริญกรรมฐานฉันพูดได้ ถามท่านว่า ถ้าไปร่างกายไม่ดีแล้วจะเป็นยังไง ท่านบอกว่าไม่เป็นไร จะเป็นทางท้องนิดหน่อยไม่มากนัก จะมีการล้างท้องสักครั้งหนึ่ง ให้นำเกลือสักครั้งหนึ่งก็หมดกัน เท่านั้นระหว่างเดินทาง ฉันก็เลยลอง....!แล้วไปคราวนี้มันเครียดต้องทรมานกายเหนื่อยทุกวัน คิดว่ามันจะทนไหวไหม คือจะไปลองทนตามที่พระท่านพูด มันก็ไหวก็ตรงตามท่านว่า พอไปถึง อิตาลี ไม่เห็นใครเลย เห็นก็แต่ผีอื่น ผีที่เราต้องการไม่เห็น อยากจะรู้ มุสโสลินี อยู่ไหน...ไม่เห็น พอเข้าเขต สวิตเซอร์แลนด์ จึงรู้ที่มาของคน ๒ - ๓ คน๑. ฮิตเลอร์ ๒. มุสโสลินี ๓. เกอร์ริ่ง นายเกอร์ริ่งน่ะคู่หูเขา แต่ฉันไม่ดูเอง เวลานอนฉันก็ไปหาพระ ตามปกติฉันเป็นอย่างนั้นนะ หัวถึงหมอนปั๊บก็ถึงพระแล้ว เพราะอยู่กับพระ... เราคุยสนุก คุยสบายใจกว่า แล้วก่อนจะไปท่านก็บอกว่า ถ้าต้องการรู้อะไรให้ถามได้ ท่านสองคนคือพระอินทร์ กับ ท่านสหัมบดีพรหมฉันไม่เคยมีอาการแบบนี้มาก่อนเลย ถ้าถามสององค์ ถามองค์หนึ่งก็เป็นหัวหน้าเทวดาทั้งหมดเป็นเทวราชา อีกองค์หนึ่งก็เป็นหัวหน้าพรหม...ใหญ่ที่สุด พอไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ก็ไปนอนๆ พอจิตสบายน่ะ... ไม่ได้ดูอะไรนะ ไอ้เรื่องดูนี่ขี้เกียจดู จิตมันเต็มกำลังมันก็หลุดพั๊วะ... ไปโน่น... ไปหาพระ... ไปเอง... ไม่ต้องสั่ง... พอไปถึงท่านท่านก็เลยถามว่าต้องการรู้ที่อยู่ของคนสองคนใช่ไหม ก็บอกว่าใช่ ท่านบอกว่า... ถามโยมสิ โยมแกทั้งสองโยมน่ะ... เขารู้ พอดีโยมท่านก็ไปถึงพอดี แล้วถามท่าน ท่านก็บอกสองคนเวลานี้ลงอเวจีทั้งคู่ เราก็สบายใจเพราะคนที่อยู่อเวจีได้ต้องใหญ่จริงๆ ไม่ใหญ่มันอยู่ไม่ได้.. ใช่ไหมคุณ บาปไม่ใหญ่มันลงไม่ได้นะพอท่านบอก ๒ คนอยู่อเวจีก็หมดทาง ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกให้ถามสองคนนี้เป็นความจริง อำนาจของเราหมด เราสามารถจะช่วยได้ แต่ช่วยได้ยาก แค่ปรทัตตูปชีวีเปรต เปรตอีก ๑๒ จำพวกเราก็ช่วยไม่ได้ อสุรกายเราก็ช่วยไม่ได้ สัตว์นรก ๘ ขุมช่วยไม่ได้เลยทีนี้อยู่ขุม ๘ ก็หมดทาง... ใช่ไหม ถามบอกหมดทาง ท่านถามอยากจะช่วยไหม บอกไอ้อยากช่วยน่ะ อยากช่วยมานานไม่ว่าใคร หมดน่ะ แต่ว่าในเมื่ออยู่ในขุมนี้ก็หมดทาง ท่านบอกไม่เป็นไร ท่านถามถึงความรู้สึก บอกผมมีอุเบกขา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนมีกรรม คือมีอกุศลกรรมหนักต้องลงนรกเป็นเรื่องธรรมดา เราก็ไม่หนักใจท่านบอกว่าช่วยได้ แต่ไม่ใช่คุณ ต้องสององค์นี้จึงช่วยได้ พระอินทร์ กับพระสหัมบดีพรหม ก็เลยเริ่มทัวร์ ทัวร์อันดับสองใช่ไหม ทัวร์จากนิพพานลงวไปอเวจี... ไปด้วยกันไหม... (หัวเราะ) เห็นหน้าอยู่คนพอไปได้ คนนี้ก็ไปได้นะ แต่ห้ามอยู่นะ(หัวเราะ) ไม่มีสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์.. ก็ไปได้น่ะถึงเวลาพอดีทีนี้ก็เลยทัวร์ซ้อนทัวร์ จากนิพพานไปอเวจี พอถึงอเวจีก็มีเจ้าของถิ่น ๒ ท่าน คือพระยายม กับ นายบัญชีใหญ่ ไปถึง ท่ากน็ถึงทันทีเหมือนกัน พอหันมา "นายบัญชีใหญ่" เปิดบัญชีและบัญชีท่านไม่พลิกอย่างเรา เล่มหนาขนาดนั้นเนี้ย เปิดปั๊บถึงพอดี แกล้งเปิดหรือไงไม่รู้ พอเปิดปั๊บ... หมดสิ้นวัน... วันนี้ครับ เขาหมดเขต แน่ะ...เป็นวันพอดี มิน่า...พระถึงได้เข็น...!ฉันปฏิเสธหลายครั้ง การไปยุโรปนี่ ฉันบอกมันไปไม่ไหวนะ ขอท่าน...บอกขอไม่ไป ท่านไม่ตกลง...บอกต้องไป พอเปิดบัญชี มาบอกหมดวันนี้ครับ...มีสิทธิ์ สององค์ท่านก็เรียกเอาขึ้นมา... ไม่ใช่ฉันนะ เราน่ะหมดสิทธิ์แล้ว พระนะหมดแหงแก๋แล้ว... ยิ้มแหยแล้วท่านก็บอกนายนิริยบาล บอกเอาคนนี้ขึ้นมา เขาหมดเวลาแล้ว ก็เลยถามท่านว่า อเวจีนี้มันมีอายุ ๑ กัป แล้วพวกนี้ที่ลงไปยังไม่ถึง ๑ วันนรกเลยแล้วขึ้นมาได้ยังไง ท่านบอกว่านรกมันมีอายุ ๑ กัปจริง แต่คนที่ตกลงมาในเขตนี้มีบุญถึงขั้นนี้ แต่ไม่เต็มกัปมันมีอยู่ ตัวอย่าง พระนางมัลลิกา ลงสัญชีพนรกแค่ ๗ วันมนุษย์ใช่ไหม?โทษเขาหนักถึงขั้นนั้นจริง แต่ว่าอายุเขาไม่ต้องอยู่นาน เป็นอย่างนั้นต่างหากล่ะ... ใช่ไหม สารวัตรมีไหม? เรือนจำน่ะ คนที่เขาเข้าเรือนจำไม่ต้องจำอยู่ตลอดชีวิตใช่ไหม... ไม่จำเป็น โทษน้อยมี โทษมากมี ไม่ใช่กำลังฉันนะ อย่าลืม... ของ ๒ องค์ และเป็นวันที่หมดเกณฑ์ของเขาพอดี ไม่ใช่ว่าไปดึงเขามาจากขุมนรกแต่ว่าการหมดเกณฑ์ที่ขุมนั้นต้องลงนรกบริวาร และก็เศษยังผ่าน ยมโลกียนรก อีกต่างหาก อันนี้ถือว่าขุมใหญ่มีความจำเป็นก็ลงแล้ว ก็ไปตัดจากปากขุมพอดี ถ้าไม่ตัดต้องล้อมไป แต่ว่าเขาบอกว่ามีสิทธิ์อีก ๒๐๐ ปี ถึงจะเกิดเป็นมนุษย์ได้ บางทีถ้าลงบริวารก็ลงแค่นิดเดียวก็เลยถามว่าต้องการอะไรบ้าง ตอนนั้นเขาขึ้นมาแล้ว... โปร่งแล้วนี่ ต้องการสังฆทานครับ บอก อือ ไม่เป็นไร.. อะไรอีก? พระหน้าตัก ๒๐ นิ้ว ๓ องค์ นี่ไม่ได้ใบ้หวยนะ... อย่าเล่นนะ มันกินหมด(หัวเราะ) บวชเณร ๑ องค์บอกเออ... แล้วก็ผลที่เธอได้... จะเป็นยังไง ผมก็เป็นเทวดาชั้น จาตุมหาราช ถามว่านักรบเป็นเทวดาได้ยังไง มันมีแต่รบอย่างเดียว เขาบอกว่า.. ผมไม่ได้มีแต่รบอย่างเดียวครับ บุญผมทำ เมตตาผมมี เอ้อ... เราก็เถียงไม่ได้เว้ย เลยถามว่าเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน แกไปเกิดประเทศไทยดีไหม แกบอก... แหลกเลยครับ... ผมฆ่าแหลกเลย...!!!ถ้ารูปนี้ก็ไม่เหลือ(หัวเราะ) ฮิตเลอร์ เก่งจริงๆ ถามทำไมละ ขโมยขโจรไอ้พวกนี้... ผมฆ่าแหลกเลยนะ ก็เลยบอกเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน งั้นแกไปเกิดประเทศไทย ถ้าต้องการไปเกิดประเทศไทยมันจะต้องทำยังไงบ้าง ก็ต้องสร้างพระหน้าตัก ๔ ศอก และก็บวชพระให้ ๑ องค์ ผมไปเกิดประเทศไทยได้ครับถามว่าแกไปเกิดแล้วแกจะช่วยวัดฉันได้ไหม บอกช่วยได้แน่นอนครับ ใน แผ่นทองคำ ๒๐๐ ปีนั้น คือผมนะครับ โอ้... มันรู้เลย มันรู้ด้วย ถามแกว่าอ่านยังไงวะ บอกผมอยู่ในนรกผมอ่อนออก แหม... ไอ้ตานรกมันอ่านยาว เพราะเหลือ ๒๐๐ ปีพอดีไง ๒๐๐ ปีมนุษย์เอ้อ... มหัศจรรย์... ถามแกเป็นอะไร... บอกผมเป็นตามตำแหน่งนั้นแหละ มุสโสลินี เป็นอำมาตย์ พอเราตกลงช่วย อย่างนี้มันไม่ยาก ยังไม่ได้สั่งช่างทำนี่ ถาม มุสโสลินี บอกผมขอเท่ากันครับ ถามแกเป็นอะไร...? บอกผมก็เป็นอำมาตย์ ต่อมาผมก็บวชอยู่วัดนั้น ถามแก "จบ" ไหม..? บอก "จบ" ครับ...!!!แน่ะ... อย่าทำเป็นเล่นไปนะ สัตว์นรกนี่ มันต่ำสุดก็สูงสุดได้เหมือนกัน... ใช่ไหมคุณ... ทำเป็นเล่นไปนะ ลองๆก็ได้นะ****"แผ่นทอง" หมายถึงคำพยากรณ์ ที่หลวงพ่อบรรจุไว้ในหลุมพระอุโบสถ เมื่อวันตัดลูกนิมิต ๒๔ เมษายน ๒๕๒๐ บอกว่าอีก ๑๘๐ ปี จะมีพระเจ้าธรรมิกราช(คือท่าน ฮิตเลอร์) พร้อมด้วยพระอรหันต์(ท่านมุสโสลินี) มาบูรณะวัดนี้(วัดจันทาราม(ท่าซุง))แล้วก็ต่อมาอีกวันหนึ่งนึกถึง เกอร์ริ่ง มันคู่กับ มุสโสลินี คนนี้อยู่ที่ไหน ท่าน ๒ องค์บอกอยู่นั่นไง... กระดูกแดงฉานน่ะ ไฟแดงเผาโชนหมดวันเหมือนกัน ก็ขนขึ้นมาอีกทำบุญเท่ากัน และต่อมาก็ถึงฮอลันดา กำลังออกจากฮอลันดาสิ ฮิตเลอร์บอกนึกถึง เปแตงค์ อาจจะเป็นศัตรูก็ได้ ไม่เป็นในตอนนั้นนะ... เพราะยอมแพ้นี่ บอกให้ช่วยเปแตงค์ด้วยครับ ถามเปแตงค์อยู่ที่ไหน บอกที่เดียวกันครับ บอกเออ... ฉันไม่มีสิทธิ์หรอกเลยบอกเอ็งไปบอกพ่อ ๒ องค์สิ ฉันไม่มีสิทธิ์ ฉันรับทราบได้ แต่... ไม่มีสิทธิ์ในการช่วย เขาก็ไปบอก ๒ ท่าน ไปบอก นายบัญชี โผล่มาอีกเหมือนกันกับพระยายม หมดวัน... รู้สึกวันพอดี แต่ว่านายนี่พอขึ้นมาแล้ว ถามต้องการอะไรบ้าง? บอกต้องการสังฆทานอย่างเดียวครับ บอกแกเอาเท่าเขาแล้ววะ... ไม่อย่างนั้นใช้ยาก(หัวเราะ) หนอยแน่ มันเล่นขี้เกียจน่ะ เลยเหมาเสร็จให้เท่ากัน แล้วก็ต่อมาพอข้ามมาถึงอังกฤษ นายเปแตงค์ ก็เป็นห่วง เชอร์ชิล ไอ้เจ้านี่... รู้สึกลำบากนิดหนึ่ง ทั้งสองท่านมา... บอกฉันจะลองดู กระดูกแดงเหมือนกันที่เดียวกันแหละ... คนนี้มีบุญ...!แหม... ไม่มีสนิมเลยคุณ เผาแดงช๊าดเลย สนิมเกาะไม่ได้ ทั้งสองท่านไป... ไปขออนุญาตนายบัญชี มาถึงเปิดบัญชีปั๊บ... ขาด ๓ วันครับ ต้องอีก ๓ วัน วันที่ ๓๐ - ๓๑ - ๓๒ เปล่า ๓๐ ขึ้น ๑ - ๒ ต้องวันที่ ๒ ถึงรับโมทนาได้พอขาด ๓ วันทั้งสองท่านบอกเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ฉันให้เป็นสัมภเวสี ๓ วัน อ้อ... เค้าเรียกมีทางแก้...! ถ้าอย่างเราแหงแก๋... ดูเฉยๆ แล้วหมดสิทธิ์ ใช่ไหม เขาก็เลยให้ ให้เป็นสัมภเวสี ๓ วัน แล้วต่อนั้นมา ก็เลยถามพระท่านว่า การมานี่มีกิจเท่านี้หรือครับ ท่านบอกใช่ก็บอกว่า ถ้าบอกผมสักหน่อยเดียว ผมไม่มาหรอก(หัวเราะ) ท่านไม่บอกเลยนะ บอกแต่ให้ไปๆ ฉันยืนยันว่าไปได้ ไม่เป็นไรๆ เป็นบ้าง... เป็นทางท้องนิดหน่อย ต้องล้างท้องหนึ่งครั้ง ให้น้ำเกลือหนึ่งครั้ง ก็ตรงตามนั้นหมด บอก... ถ้ารู้อย่างนี้ผมก็ไม่ต้องไป... นอนวัดก็ช่วยได้ท่านบอกมันก็ไม่ได้เหมือนกันนะ คงจะมีอะไรสักอย่าง ถ้านอนวัดเราก็ห่วงงานมากกว่า ใช่ ... ห่วงงานของเรา เราก็เลยไม่ห่วงพวกนี้ เวลานั้นนั่งรถไป เราก็รำคาญการนั่งรถ... ใช่ไหม เราก็ใช้กำลังใจ รถจะถึงไหนก็ช่างหัวมัน เราธุระของเราไปเรื่อยเฉื่อย อย่างไปถึง เยอรมัน นี่เราก็ดูซ่อนอะไรที่ไหนมั่งหว่า... (หัวเราะ)ดูของที่ซ่อน โอ้... บานเจ้าเลย ความโง่ของฉัน เมื่อสมัยหลังสงครามครั้งที่ ๒ นี่จะโกหกให้ฟังนะ ใครจะเชื่อก็เชื่อ ไม่เชื่อก็ตามใจ บอกแล้วว่าโกหก เพราะไม่ได้ไปเห็นจริงนะ... แค่รู้ เพราะเค้าบอกว่าเยอรมันสร้างอาวุธ แล้วเก็บในเขา ฉันก็คิดว่าเก็บในถ้ำ มันไม่ใช่อย่างนั้น เค้าสร้างถ้ำในเขาเพราะว่าออกจาก อิตาลี แต่ก่อนจะถึง สวิตเซอร์แลนด์ เรารู้สึกมันผ่านถ้ำไม่รู้เท่าไหรเลยใช่ไหม ภูเขา... ถนนเค้าไม่อ้อมเขา เขาทะลุถ้ำไปเลย... ยาวเหยียดๆ ขนาดตอนนั้น เขายังขนาดนี้ ตอนก่อนเขาก็ทำใต้เขาให้เป็นถ้ำ ตามความหมายประสงค์ของเขา... แค่นี้เอง นี่รวมความว่าฉันโง่แน่ ฉันไปนี่... ฉันฉลาดขึ้นมาหน่อย... หน่อยเดียวนะ รู้ว่าเขาเจาะเขาได้สะดวกด้วย... ใช่ไหม ทีนี้มันก็มีปัญหาว่า ตามถนนรถยนต์ต่างๆ น่ะมันมีอะไรอยู่ใต้ถนนบ้างหรือเปล่า นั่งไป เอ... นี่มันมีถนนสองชั้นเลยนี่หว่า จิ้งจกทัก(หัวเราะ) ห้ามพูดอันตราย ท่านบอก อันตราย... ไม่เป็นเรื่อง..."

(จบบันทึกเพียงเท่านี้)
ที่มา : หนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม ๔
จากเวปแดนพระนิพพาน

ผู้จะถึงไตรสรณคมน์ต้องมีปัญญา




ผู้จะถึงพระไตรสรณคมน์มั่นคงต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม


ผู้จะถึงพระไตรสรณคมน์ได้มั่นคง

ต้องมีปัญญาพิจารณาเห็นด้วยใจของตนจริงๆ

ว่าเราทำกรรมดีต้องได้รับผลเป็นสุขตอบแทน เ

ราทำกรรมชั่วต้องได้รับผลเป็นทุกข์ตอบแทนด้วยตนเอง

คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ อย่างนี้แน่วแน่ในใจจริงๆ

จึงจะถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้


คนเราเกิดมาในโลกก็เพราะกรรม ถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ได้มาเกิด ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า “โลก คือ มนุษย์ต้องเป็นไปตามกรรม” ดังนี้ กรรม คือ การกระทำทั้งดี ทั้งชั่ว กรรมดี เรียก กุศลกรรม กรรมชั่ว เรียก อกุศลกรรม คนเกิดมาในโลกนี้มี กาย วาจา และใจ แล้ว ใครจะไม่ทำกรรมย่อมไม่มี ฉะนั้น คนเราทุกคนเกิดขึ้นมาในโลกได้ชื่อว่าเกิดมาสร้างกรรม แต่ขอให้เลือกสร้างเอาแต่กรรมดี ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขกายและใจอย่างเดียว


เมื่อตนเองสร้างกรรมชั่วแล้ว

แต่อยากจะได้ความสุข มันจะได้มาแต่ที่ไหน

ปลูกมะนาวออกผลมามันก็ต้องเป็นมะนาวละซี

มันจะเป็นละมุด ลำไยได้อย่างไร

เมื่อกรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์

ก็บ่นว่าทำบุญไม่ช่วยตน

บุญไม่มีผล ทีหน้าทีหลังไม่อยากทำละ


ผู้ทำบุญไม่รู้จักบุญย่อมคิดอยู่อย่างนี้ บ่นอย่างนี้เป็นธรรมดา แท้จริงบุญมิใช่วัตถุ หรือเป็นของมีตัวมีตน บุญเกิดจากจิตใจต่างหาก วัตถุทานที่เราให้นั้นมันเกิดจากน้ำใจที่มันแผ่ออกไปจากจิตใจ เพื่อให้เกิดความเกื้อกูลแก่มนุษย์และสัตว์เหล่าอื่นต่างหาก


น้ำใจที่มันแผ่ออกไปนี้ไม่มีหมดสักที ยิ่งแผ่ออกไปมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นของกว้างเท่านั้น วัตถุทานที่เราให้ไปนั้นหมดเป็น เมื่อเราได้เห็นบุคคลหรือวัตถุ สถานที่ คำสอนที่มีเหตุมีผล ฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสนั้นเป็นบุญแท้ มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเกิดมาแล้วต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา


เกิดมาแล้วจะไม่ให้มีเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ เราทำกรรมดีไว้มากๆ ระลึกถึงกรรมดีนั้นอยู่เสมอๆ ถึงร่างกายอันนี้มันจะเจ็บหรือจะตายก็เป็นเรื่องของมันต่างหาก ส่วนกรรมดีคือบุญกุศลเป็นของไม่ตาย ฉะนั้น อย่าไปโทษบุญกรรมเลย โทษตัวเราผู้เกิดมานั้นดีกว่า แล้วพึงระลึกถึงกรรมดีที่ได้กระทำไว้นั้นเป็นที่พึ่งดีกว่า


: ของดีมีในศาสนาพุทธ

: โดยพระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

ความคิด


เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นผู้มีบุญอย่างยิ่ง แต่ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนา คือปฏิบัติให้จริงตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเป็นผู้มีบุญสูงสุด


พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประเสริฐสุด ไม่มีที่เปรียบได้ เพราะพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะพาไปให้รู้จักพลังพิเศษ คือความคิดที่สามารถทำลายความทุกข์ได้ ตั้งแต่ทุกข์น้อย จนถึงทุกข์ทั้งปวง จนถึงเป็นผู้ไกลทุกข์สิ้นเชิง ไม่มีเวลากลับมาให้เป็นทุกข์อีกเลย ตลอดไป


ผู้มีพลังพิเศษพาหนีทุกข์ได้ พาดับทุกข์ได้ พาพ้นทุกข์ได้ คือผู้มีความคิดพิเศษ และความคิดพิเศษนี้เกิดได้จากความรู้จักปฏิบัติพระพุทธศาสนาเท่านั้น


พลังแห่งความคิดพิเศษ หรือความคิดพิเศษนั่นเอง ที่เป็นผู้ช่วยยิ่งใหญ่ พร้อมที่จะช่วยทุกคนที่รู้ค่าของความพิเศษ ที่ยอมรับยอมเชื่อ ว่าความคิดพิเศษนั้นมีอำนาจใหญ่ยิ่งจริง อาจพาให้พ้นทุกข์ได้จริง ทั้งทุกข์น้อยทุกข์ใหญ่ จนถึงทุกข์สิ้นเชิง


จะทุกข์หรือไม่ทุกข์ อยู่ที่ความคิดของตนเองนี้เป็นสัจจะ คือเป็นความจริงแท้ ไม่ว่าผู้ใดจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อก็ตาม ก็เป็นความจริง ผู้ใดจะทุกข์หรือไม่ทุกข์ อยู่ที่ความคิดของผู้นั้น


ไม่มีผู้ใดที่ไม่ปรารถนาความไม่มีทุกข์ ทุกคนล้วนปรารถนาความไม่มีทุกข์ แต่ไม่ทุกคนที่ยอมรับความจริง ว่าการที่หนีความทุกข์ไม่พ้นนั้นเป็นเพราะคิดไม่เป็น ถ้าคิดให้เป็นจะไม่มีความทุกข์ใดใกล้กรายได้เลย เพราะความคิดนั้นแหละคือกำลังสำคัญที่สามารถทำไม่ให้ทุกข์เกิดได้


ความคิดไม่เป็น หรือความคิดไม่ถูก ของตนเองเท่านั้น ที่ทำให้ความทุกข์กลุ้มรุมใจตน ไม่มีการกระทำคำพูดของผู้ใดอื่นจะอาจทำให้ความทุกข์กลุ้มรุมใจใคร ถ้าใครนั้นเป็นผู้รู้จักคิดให้เป็น รู้จักคิดให้ถูก ความคิดจึงสำคัญนัก ความคิดจึงมีพลังนัก มีอิทธิพลนัก ต่อชีวิตจิตใจผู้คนทั้งปวง ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ไม่เลือกสูงต่ำ ร่ำรวยหรือยากดีมีจนเพียงใดก็ตาม


ปรารถนาความเบิกบานสำราญใจไม่เศร้าหมองร้อนรนด้วยความทุกข์ พึงเห็นความสำคัญของความคิดให้มาก เห็นให้จริงใจว่า ความคิดของใครก็ตามที่ถูกต้องเป็นธรรมจะนำไปสู่ความเบิกบานสบายใจแน่นอน สมดังที่ปรารถนาอยู่ทุกเวลานาที


: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

: แสงส่องใจ วัดบวรนิเวศวิหาร ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๗

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

ฟุ้ง


อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อารมณ์ไม่เป็นหนึ่ง พลุกพล่านไปสู่อารมณ์ต่างๆ ให้จับลมหายใจเข้าออก ให้เป็นฌานสมาบัติให้ได้ แล้วเอากำลังนั้นเกาะพระนิพพานแทน ก็จะตัดความฟุ้งซ่านนี้ได้

สำหรับตอนนี้ ก็อย่าลืมเรื่องภาพพระ คือพุทธานุสติของเรา ให้อยู่ควบกับลมหายใจเข้าออก กำหนดใจเบาๆ สบาย ๆ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง จับภาพพระให้เป็นปกติ เมื่อสวดมนต์ทำวัตร ให้ตั้งใจว่า เราทำเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อานิสงส์ทั้งหมด เราต้องการไปพระนิพพานแห่งเดียว เอาความรู้สึกของเรา จับภาพพระเอาไว้ ปากเราก็สวดมนต์ทำหน้าที่ของเราไป ถึงเวลาทำการทำงานอื่นๆ ให้จับภาพพระอยู่กับเราตลอดเวลา การงานต่างๆ ก็จะทรงตัว ทำแล้วได้ผลละเอียดละออดี ตอนนี้ให้ค่อยๆ ถอนจิตออกมา และประคับประคองให้อยู่กับภาพพระเอาไว้ เพื่อจะได้ทำวัตรเช้าต่อไป ?

ถ้ารู้สึกว่ากำลังใจของเราไม่ทรงตัว มันฟุ้งซ่าน ดึงเข้ามาสู่อารมณ์ภาวนาได้ยาก ให้ใช้คาถาที่พระพุทธเจ้าท่านให้มา เป็นคาถาที่รวมใจของเราให้ทรงตัว ให้ภาวนาว่า อิติ สัมมาสัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตัง ใช้คำภาวนานี้แทนคำภาวนาทุกอย่าง อิติ สัมมาสัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตัง นี่เป็นคาถาที่สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามอบให้ ถ้าเราฟุ้งซ่าน รักษาอารมณ์ใจให้ทรงตัวไม่ได้ ก็นึกถึงคาถา อิติ สัมมาสัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตังนี้ ให้ใช้แทนคำภาวนาอื่น ๆ ชั่วขณะหนึ่ง อาจเป็นห้านาที สิบนาที หรือครึ่งชั่วโมง แต่จากที่เคยลองมา ไม่เคยเกินสามนาที กำลังใจที่ฟุ้งซ่านมันจะนิ่ง มันจะลงตัว ดังนั้น วันไหน ถ้ากำลังใจของเราฟุ้งซ่าน ไปรัก โลภ โกรธ หลง ตามปกติของมัน ไม่สามารถจะดึงเข้าหาคำภาวนาได้ ให้นึกขอบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้โปรดเมตตาสงเคราะห์ รวบ รวมกำลังใจของเรา ให้ทรงตัวโดยเร็ว แล้วภาวนาว่า อิติ สัมมาสัมพุทธัสสะ มะมะ จิตตังสักครู่หนึ่ง พอกำลังใจทรงตัวแล้ว เราค่อยใช้คำภาวนาที่เราถนัดต่อไป

คาถานี้เป็นสิ่งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานให้ ดังนั้น ถ้าเราใช้คาถานี้ ก็เท่ากับเราทรงพุทธานุสติอยู่ ขอให้นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นปกติเท่านั้น เรานับว่าโชคดี ที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมตตา คอยอนุเคราะห์สงเคราะห์อยู่ตลอดเวลา

กามฉันทะ “ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
พยาบาท ความผูกโกรธ อาฆาตแค้นผู้อื่นเขา”
ถีนมิททะ ความง่วงหงาวหาวนอนความขี้เกียจปฏิบัติจะได้อยู่กับเขาต่อไป
อุทัฐจะ ความฟุ้งซ่านอารมณ์ไม่ตั้งมั่น
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ ลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ลังเลสงสัยในครูบาอาจารย์ว่าจะมีความสามารถจริงหรือไม่ ? นั่นเป็นการดลใจของมาร เป็นบริวารของมาร

เราสามารถหลีกพ้นได้ง่ายที่สุด คืออยู่กับลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้าก็นึกว่าพุทธ หายใจออกก็นึกว่าโธ กำหนดภาพพระให้แนบแน่นอยู่ในใจ ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออก เข้าไปเล็กลง ออกมาใหญ่ขึ้น เข้าไปเล็กลง ๆ ออกมาใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น กำหนดใจให้นิ่งอยู่อย่างนี้ บริวารของมารจะทำอันตรายเราไม่ได้ เนื่องเพราะว่าจิตของเราอยู่เฉพาะหน้า ไม่ได้ส่งออก ไม่ได้ปรุงแต่งไปในอารมณ์อื่น ๆ มารทั้งหลาย ที่เขาขัดขวางเรา เพราะไม่ต้องการให้เราหลุดพ้น หน้าที่ของเขาก็คือสร้างความลำบากนานับประการให้แก่เรา ให้เราต่อสู้ ให้เราฟันฝ่า เพื่อบารมีของเราได้เข้มแข็งขึ้น ได้มั่นคงขึ้น กำลังจะได้สูงขึ้น เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้ง่าย

จับภาพพระของเราให้สว่างไสวเอาไว้ กำหนดใจแผ่เมตตาให้เป็นปกติ เมตตาต่อคน เมตตาต่อสัตว์ อย่าให้มีประมาณ อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง อย่าไปดูว่าคนนี้สวยเราเมตตา คนนี้หล่อเราเมตตา สัตว์ตัวนี้สวยเราเมตตา สัตว์ต้วนี้ไม่สวยเราไม่เมตตา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ กำลังใจของเราต้องเป็นอัปปมัญญา คือหาประมาณไม่ได้ ตั้งเจตนาไว้ว่าเราจะสงเคราะห์คนและสัตว์ทั้งหมดให้มีความสุขเสมอหน้ากัน เวลาออกทำการทำงานทำหน้าที่ของเรา ฆารวาสทำการทำงานก็ดี กำหนดใจให้สบาย ให้สดชื่น ให้แจ่มใส ให้เห็นว่าคนรอบข้างของเราคือเพื่อน ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ถ้าเขามีสุขเรายินดีในความสุขของเขา เขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานในชีวิตเรายินดีกับเขา ถ้าเขาอยู่ในความทุกข์เราพร้อมช่วยเหลือเขา ถ้าหากว่าความทุกข์นั้นเกินจากความสามารถของเรา เราก็ยังพร้อมที่จะช่วยเหลือ ถ้าหากว่ามีความสามารถถึงเมื่อไหร่ เราช่วยเมื่อนั้น เป็นพระเป็นเณร ถึงเวลาออกบิณฑบาตร กำหนดใจให้ญาติโยมทั้งหลาย ไม่วาจะใส่บาตรก็ดี ไม่ใส่บาตรก็ดี ขอให้เขาเหล่านั้น มีแต่ความสุข ล่วงจากความทุกข์โดยทั่วหน้ากัน ให้เมตตาเป็นปกติ กรุณาเป็นปกติ มุฑิตาเป็นปกติ และวางกำลังใจให้อุเบกขาเป็นปกติ ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อสิ่งทั้งปวงที่มากระทบ ตาเห็นรูป สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน จมูกได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้นได้รสสักแต่ว่าได้รส กายสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัส ให้สติรู้เท่าทัน หยุดมันเอาไว้แค่นั้น อย่าให้เข้ามาทำอันตรายจิตใจของเราได้

ถ้าใจของเราอยู่กับพระ ใจของเราอยู่กับการภาวนา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะทำอันตรายเราไม่ได้ ดังนั้นทุกเวลาที่สติ สมาธิทรงตัว พยายามเกาะภาพพระให้เป็นปกติ เกาะลมหายใจเข้าออกให้เป็นปกติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ หน้าที่การงานของเราให้คิดว่าวันนี้เป็นวันสุดท้าย เรามีแค่วั้นนี้วันเดียว หรือว่าเรามีแค่ลมหายใจเข้าออกชุดเดียวเท่านั้น หายใจเข้าถ้าไม่หายใจออกอาจจะตายไปเลย หายใจออกถ้าไม่หายใจเข้าอาจจะตายไปเลยดังนั้นถ้าเวลาเรามีน้อยจนขณะนี้ เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด หน้าที่การงานอะไรที่เรารับผิดชอบ ทำเหมือนกับว่ามันเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต ทำอย่างทุ่มเท ทำให้ดีที่สุด เพื่อที่ถึงเวลาแล้วเราจะได้จากไปอย่างสง่างามที่สุด

เห็นทุกอย่างให้ไม่เที่ยง เห็นทุกอย่างให้เป็นทุกข์ เห็นทุกอย่างว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา โดยเฉพาะอารมณ์กระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องระมัดระวังให้จงหนัก สิ่งที่ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ต้องหยุดมันไว้ให้ทัน ให้มันอยู่แค่ตรงที่สัมผัสนั้น อย่าให้มันเข้ามาในใจ พอมันเข้ามาในใจ จิตสังขารก็เริ่มนึกคิดปรุงแต่ง ชอบหรือไม่ชอบเป็นโทษทั้งสิ้น ชอบเป็นราคะ ไม่ชอบเป็นโทสะ ทันทีที่เราปรุงแต่ง ราคะ โทสะ โมหะ มันจะเจริญงอกงามทันที ต้องระวังมันไว้ให้ทัน หยุดมันไว้ให้ทัน

ถ้าสติของเรา อยู่กับลมหายใจเข้าออก สติจะแหลมคม ปัญญาจะกระจ่าง จะสามารถรู้เท่าทัน และหยุดมันเอาไว้ได้ ดังนั้น เราทิ้งลมหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ว่าการปฏิบัติในระดับไหนก็ตาม ลมหายใจสำคัญที่สุด ตามมาด้วยเครื่องหล่อเลี้ยง คือเมตตาพรหมวิหารทั้ง ๔ ข้อ และการพิจารณาให้เห็น สภาพความเป็นจริงของร่างกาย โดยเฉพาะจุดสุดท้าย ให้ทุกคนส่งกำลังใจเกาะพระนิพพานเอาไว้ เกาะพระนิพพานตามกำลังของมโนมยิทธิก็ดี ตามกำลังของอภิญญาสมาบัติก็ดี หรือกำหนดภาพพระขึ้นตรงหน้า ตั้งใจว่านั่นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่เฉพาะพระนิพพานเท่านั้น เราเห็นท่านคือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน ให้ตั้งใจรู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ตายเมื่อไหร่ เราต้องไปพระนิพพานให้ได้ ไม่อย่างนั้นทุกข์โทษเวรภัยต่าง ๆ ที่เราทำสร้างเอาไว้ในอดีต มันจะลงโทษเรา ให้ตกนรก ลำบากอย่างไม่รู้จบ แทบจะไม่เห็นว่ามันจะสิ้นสุดลงตรงไหน จะต้องเกิดเป็นเปรต อดอยากหิวโหย อยู่ในระยะเวลาอันเนิ่นนานเหลือเกิน จะต้องเกิดเป็นอสุรกายหลบ ๆ ซ่อน ๆ หากินไม่เต็มปากเต็มท้อง จะต้องเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลำบากด้วยการหากินไม่ได้อย่างใจ ปรารถนาอย่างหนึ่งอาจจะได้อย่างหนึ่ง ตกอยู่ในภัยอันตรายตลอดเวลา

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะต้องพิจารณาให้เห็น ถ้าเราไปนิพพานไม่ได้ เราต้องพบกับมันแน่ ๆ ดังนั้น มีเวลาว่างเมื่อไหร่ ส่งกำลังใจเกาะนิพพานไว้ให้เป็นปกติ ตั้งใจแผ่เมตตา เห็นหมู หมา กา ไก่ ก็ดี เห็นคนก็ดี ให้มีจิตประกอบไปด้วย เมตตาพรหมวิหารอยู่เสมอ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

การปฏิบัติของเรา จะโดนทดสอบอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่กระทบแล้ว ให้เกิดรักเกิดชอบใจ สิ่งที่กระทบแล้ว ให้เกิดโทสะจริตขึ้นมา ต้องดูต้องรู้เท่าทันมัน ถ้าเราเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายนี้ เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายคนอื่น ตัวราคะกับโลภะก็กำเริบไม่ได้ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแล้วแต่สลายตายพังไปหมด ไม่มีสิ่งใดทรงตัว ยึดถือมั่นหมายไปก็ทุกข์ มีกายหนึ่งก็ทุกข์ห้า มีสองกายก็ทุกข์สิบ มีสามกายก็ทุกข์สิบห้า มีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ

ที่มา : หลวงพี่เล็ก จากกรรมฐานสี่สิบwww.grathonbook.net/book/grammathan40

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

ทำดี แต่กรรมบัง

บางคนทำดีแต่ไม่ได้ดี เหมือนบุญมีแต่กรรมบัง
กลับมาน้อยเนื้อต่ำใจ ท่านสาธุชนทั้งหลายอย่าน้อยใจ
ทำดีเข้าไว้ ท่องคาถานี้ไว้ ไม่สู้ไม่หนี ทำดีทุกวัน
ท่องทุกวัน เดี๋ยวได้ดี ทำดีไม่ได้ดี เหมือนมีกรรมบัง
เพราะเหตุใด

ขอเจริญพร มีคติธรรมดังนี้ อย่าน้อยใจว่าไม่ได้ดี เพราะเหตุใด
ทำไม่เสมอต้นเสมอปลาย มาแต่ชาติก่อนแล้ว

๑.คติสมบัติ สร้างความดีผิดสถานที่
๒.อุปาธิสมบัติ สร้างความดีผิดตัวบุคคล
๓.กาลสมบัติ สร้างความดีผิดกาลเวลา
๔.ประโยคสมบัติ สร้างความดีไม่เสมอต้นเสมอปลาย ทำลุ่มๆ ดอนๆ ได้ดีไม่ได้

ก็ขอเจริญพร ผู้ทำดีเนี่ย สอนจะลำบากใจเหลือเกิน
ต้องทนทุกข์ทรมานเหลือเกิน กว่าจะเป็นพระเอกในละครชีวิต
ต้องซื่อสัตย์ สุจริต เป็นนิจขยัน ประหยัดให้มั่น หันหลังให้อบาย
นี่ถึงจะเป็นพระเอกนางเอกได้

ถ้านอกเหนือจากนั้นเป็นพระเอกนางเอกไม่ได้
ถ้าอดทนไม่ได้ต่อสู้ไม่ได้
รับรองว่าต้องเป็นหางเครื่อง ตัวเสนา ต่อไป
จนกระทั่งตาย ก็ขอเจริญพรอย่างนั้น

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

แง่ดี ^ ^

หากใครเคยพลาดพลั้งกับชีวิต
เดินทางผิดคิดไม่ถูกสุดสับสน
ลองหาใครมาคบดูสักคน
ความกังวัลที่มีอาจหายไป

ถึงวันนี้ยังไม่มีชัยชนะ
วันหน้าเราอาจจะพบมันได้
ขอเพียงเรามีแรงเดินต่อไป
สิ่งที่เราหวังไว้คงเป็นจริง

แต่ถ้าหากเราหมดแรงลุกขึ้นสู้
ขอให้ดูรอบตัวสิ่งที่เห็น
ทุกๆอย่างอาจไม่จริงอย่างที่เป็น
สิ่งที่เห็นแค่เปลือกนอกหลอกลวงคน

คนตาบอดแขนไม่มียังอยู่ได้
แล้วเหตุใดเราจึงไม่ลุกขึ้นสู้
ถ้าหากเรามัวแต่นั่งมองดู
อยากให้รู้เรามีค่าต่อตัวเราเอง

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

ปัจจุบัน สำคัญ ที่สุด

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายถึงการปฏิบัติธรรมว่า
"ปัจจุบัน"
เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังมาไม่ถึง
ทั้งอดีตและอนาคตจึเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจ
สิ่งที่ควรให้ความสนใจก็คือที่นี่และเดี๋ยวนี้ โดยตรัสว่า

"บุคคลไม่ควรคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
บุคคลใดเห็นแจ้งในปัจจุบันธรรม ไ
ม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
ผู้นั้นควรเจริญในธรรมเนือง ๆ
ความเพียรควรทำเสียวันนี้ เดี๋ยวนี้
ไม่มีใครรู้ความตายในวันพรุ่งนี้

เพราะการผลัดเพี้ยนกับความตาย
ไม่มีใครทำได้ ผู้รู้ย่อมสงบเรียกว่าผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนว่า
ผู้นั้นมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวประเสริฐที่สุด"

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติธรรมฟุ้งซ่านไม่สงบ
นั้นหมายถึงความปรุงแต่งไปตามสัญญาอารมณ์ทั้งอดีตและอนาคต เ
ราชอบเก็บเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านไปแล้วมานึกคิด
ถ้าเป็นเรื่องไม่ดีจิตก็สลดหดหู่เหงาหงอยเซื่องซึมไป
ทั้ง ๆ ที่เรื่องเหล่านั้นก็ผ่านพ้นเลยไปแล้ว
ถ้าเป็นเรื่องสุขจิตก็กระเจิดกระเจิงโลดแล่นไป
ทั้งเรื่องดีและไม่ดีก็ไม่ควรเก็บมาคิดให้เปลืองเวลา
เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ผ่านล่วงเลยไป
กลับกลายเป็นอดีตไปแล้ว จะเรียกร้องแก้ไขใ
ห้กลับคืนก็อยู่ในวิสัยที่ทำได้ยาก
แล้วสิ่งที่เรียกว่า อนาคต
ก็เป็นเรื่องของกาลเวลาข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง
ก็หาควรโน้มน้าวเก็บมาครุ่นคำนึงนึกคิดสร้างความหวังลมๆแล้งๆ
ไว้คอยท่า เพราะเหตุการณ์ที่ถูกจัดว่าเป็นเรื่องของอนาค
ตนั้นเป็นสิ่งเลื่อนลอย ไม่แน่นอนเป็นจริงเป็นจังอะไรขึ้นมา
รังแต่จะทำให้จิตว้าวุ่นโดยเปล่าประโยชน์

ที่มา:-หนังสือคิดถึงปู่ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)หน้า ๕๒-๕๔

ตั้งสติ...เก็บสตังค์ ^^


เคยนึกแปลกใจไหมว่า

ทำงานมาตั้งหลายปีแล้ว แต่ทำไมไม่มีเงินเก็บเลย คิดว่าโรคนี้คงเป็นโรคประจำตัวของมนุษย์เงินเดือนหลายๆ ท่าน คนเรามีเวลาทำงานเต็มที่ไม่น่าเกิน 40 ปี และหลังจากนั้นคงใช้ชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี คิดแค่นี้ก็หนาวแล้ว หากทำงานไปเรื่อยๆ จนเกษียณแล้วไม่มีเงินเหลือเลย จะทำอย่างไรดี คิดง่ายๆ แค่หลังเกษียณมีข้าวกินให้ครบ 3 มื้อๆ ละ 100 บาท เราก็ต้องมีเงินเก็บประมาณ 2,910,000 บาทแล้ว ถ้าไม่เริ่มเก็บตั้งแต่เริ่มทำงานใหม่ๆ ก็มีหวังอดมื้อกินมื้อแน่นอน นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยนะ


เริ่มปีใหม่เริ่มต้นด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองกันดีกว่า อันดับแรกเริ่มจากการบอกกับตัวเองว่าปีใหม่ปีนี้เราจะทำดีถวายในหลวงด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตั้งใจทำงาน ยึดพระราชดำรัสของพระองค์เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเองเรื่องการเก็บออมอย่างมีวินัยและใช้จ่ายอย่างพอเพียง จะเริ่มอย่างไรดี


1. ต้องเก็บก่อนใช้ สร้างวินัยการออมให้ตัวเองก่อน ยึดหลักเก็บก่อนมีเงินก่อน อย่าอ้างโน่นอ้างนี่ เช่น เงินเดือนแค่นี้จะเก็บได้อย่างไร แค่กินยังไม่อยากจะพอ ท่องไว้เลยว่า ถ้าเรา คิดจะเก็บเราต้องเก็บได้ มนุษย์เป็นไปตามความคิด ว่าแล้วเดือนนี้เงินเดือนออกมาปุ๊บเก็บปั๊บ เก็บก่อนใช้จะเก็บได้ อย่าลืมไปเปิดบัญชีฝากประจำชนิดที่ไม่ต้องเสียภาษีระยะเวลา 2 ปี ฝากเท่าๆ กันทุกเดือน (ตั้งแต่ 1,000 ถึงสูงสุด….ต่อเดือน) และที่สำคัญ บัญชีที่จะเก็บเงินต้องไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ใจต้องเข้มแข็งไว้เราจึงจะเก็บเงินได้ นึกถึงช่วงที่ไม่มีเงินหน้าจะแห้งท้องจะหิว เพื่อนฝูงก็เมิน


2. ต้องมีกติกาในการใช้บัตรเครดิตและใช้อย่างชาญฉลาด พกทีละใบใช้ทีละใบ อย่าลืมว่าการใช้บัตรเครดิตคือ การใช้เงินอนาคต ส่วนมากคนที่รูดบัตรเครดิตอย่างไม่คิดชีวิตจะมีอายุประมาณ 20 กว่าๆ และชอบชำระขั้นต่ำทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยค่อนข้างสูง กำหนดวงเงินในการใช้บัตรเครดิตแต่ละเดือนเมื่อรวมกับการใช้จ่ายทั่วไปไม่ควรเกินวงเงินการใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเรา จะได้ไม่มีปัญหาในเดือนถัดไป เมื่อใช้บัตรแล้วทุกเดือนควรชำระให้เต็มตามยอดหนี้และชำระให้ตรงตามระยะเวลาจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยที่แพงหูฉี่


3. กำหนดกติกาในการเดินห้างสรรพสินค้า ต้องยอมรับว่าในห้างสรรพสินค้ามีสิ่งล่อตาล่อใจค่อนข้างมากแม้เราจะตั้งใจมั่นอย่างไรก็ตาม แต่สุดท้าย ก็พ่ายแพ้กิเลส เพราะฉะนั้นอาจสร้างกติกากับตัวเองในการเดินห้างสรรพสินค้าเดือนละครั้ง เพื่อไปเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่ก็ควรเตือนตัวเองด้วยว่าอะไรควรซื้ออะไรไม่ควรซื้อ หากจำเป็นต้องซื้อของใช้ในบ้านก็ควรจดรายการไปให้เรียบร้อย


4. เริ่มจดบัญชีรายรับ-รายการใช้จ่าย การจดรายการใช้จ่ายจะช่วยให้เรารู้ว่าอะไรควรใช้อะไรไม่ควรใช้ เริ่มปีใหม่เริ่มทำเลย จะช่วยให้เรามีวินัยในการใช้จ่ายและรู้สถานะการเงินของเราตลอดเวลา แบ่งเป็นช่องรายรับ และรายจ่ายจะได้รู้ว่าตอนนี้ติดลบแล้วหรือยัง นอกจากนั้น จะช่วยให้เราเก็บเงินได้ด้วย


5. นึกถึงชีวิตยามเกษียณไว้เสมอ วันเวลาไม่เคยคอยใครเคลื่อนไปทุกวันเผลอแป๊บเดียวอายุเข้าหลักสี่แล้ว เหลียวมองเงินที่เก็บยังไม่พอกินข้าว 3 มื้อหลังเกษียณเลย อย่าให้เป็นเช่นนั้น ต้องตระหนักถึงชีวิตหลังเกษียณไว้เสมอเราต้องมีชีวิตหลังเกษียณอย่างสุขสบาย เพราะฉะนั้น เริ่มเก็บตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำงานหนักยามอายุมาก เปลี่ยนความคิดเป็นความตั้งใจ เปลี่ยนความตั้งใจเป็นการกระทำ เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเก็บออมอย่างเป็นระบบ ทบทวนชีวิตในปีที่ผ่านมา เราทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดีก็ทำต่อไป อะไรที่ไม่ดี ลด ละ เลิก ปีนี้เริ่มต้นกันใหม่ทำสิ่งดีๆ เพื่อตนเอง เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ เดินตามรอยพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยเพื่อชีวิตที่ผาสุกในอนาคต ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น


ขอบคุณที่มา : BangkokBizNews

ความรัก กับ บทลงโทษ


บทลงโทษด้วยความรัก


หนึ่งเมื่อยังเด็ก...

แอนดี้น้องชายของฉันนั่งอยู่ที่มุมห้องนั่งเล่นในมือข้างหนึ่งมีปากกาหนึ่งด้ามขณะ

ที่ในมืออีกข้างหนึ่งก็ถือหนังสือสะสมราคา แพงของพ่อ

แอนดี้คงจะปีนขึ้นไปหยิบจากบนชั้นหนังสือเมื่อพ่อเดินเข้ามาในห้อง

แอนดี้ก็ก้มหน้างุดและทำท่ากระสับกระส่ายเขารู้ตัวดีเชียวละ

ว่ากำลังทำผิดแม้จากระยะไกลฉันก็เห็นรอยขีดเขียนเปรอะ

ไปทั่วบนหน้าหนังสือของพ่อและตอนนี้แอนดี้ก็กำลังจ้องมองพ่อ

ตาโตด้วยความหวาดหวั่นรอคอยที่จะถูกทำโทษ

พ่อหยิบหนังสือขึ้นมามองแล้วก็ทรุดตัวลงนั่งบนเก้าอี้โดย

ไม่พูดอะไรสักคำหนังสือทุกเล่มมีความหมายต่อพ่อมาก

หนังสือคือความรู้และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือสะสมราคาแพง


แต่ในขณะเดียวกันท่านก็เป็นพ่อที่รักลูกมากสิ่งที่พ่อทำ

ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้านั้นยอดเยี่ยมมากแทนที่ท่านจะลงโทษ

หรือดุแอนดี้หรือแม้แต่ตำหนิความซุกซน

พ่อกลับนั่งลงหยิบปากกาในมือแอนดี้ขึ้นมาถือไว้

แล้วก็เขียนอะไรบางอย่างลงในหน้าหนังสือสะสมราคาแพงนั่นเสียเอง


พ่อเขียนที่ข้างๆ ลายเส้นที่แอนดี้ขีดว่า

"ภาษาของแอนดี้ เมื่ออายุสองขวบ"

ต่อไปนี้ไม่ว่าครั้งไหนที่พ่อหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเปิด

พ่อก็จะเห็นใบหน้าน้อยๆที่น่ารักและดวงตาที่สดใสของลูก

และจะขอบคุณพระเจ้าที่ประทานเด็กน้อยคนนี้มาให้ขีดเขียน

บนหนังสือแสนหวงของพ่อลูกทำให้หนังสือเล่มนี้ของพ่อมีความหมาย

เหมือนกับที่พี่ๆของลูกนำความหมายมาสู่ชีวิตของพ่อเหมือนกัน


ว้าว... ฉันคิด นี่หรือคือการลงโทษของพ่อ?

นานๆครั้งฉันก็จะหยิบหนังสือที่สะสมไว้มาให้ลูกหลานของฉันขีดเขียนเล่น

ทุกครั้งที่มองดูลายมือหยุกหยิกเหล่านั้น


ฉันก็จะนึกถึงสิ่งที่พ่อทำในวันนั้นพ่อได้สอนให้ฉันรู้ว่า

...อะไรกันแน่ที่มีค่าต่อชีวิตของเราอย่างแท้จริง

ซึ่งนั่นก็คือ คนที่เรารัก ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ...

ลองมองย้อนดูตัวคุณเอง

ในแต่ละวันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้อยู่เสมอ

เช่นคุณนั่งกินข้าวกับภรรยาอยู่ที่ร้านอาหาร

เธอหวังดีอยากจะเทซอสให้คุณ

แต่มันกลับหกไปเลอะเสื้อตัวเก่งของคุณ

และคุณก็ทำสีหน้าที่ตำหนิเธอ

และคำพูดที่บอกว่า...

เดี๋ยว ผมเทเองก็ได้

นอกจากคำขอโทษที่เธอพร่ำบอก

น้ำตาใสๆก็เริ่มเอ่อขึ้นในใจเช่นเดียวกัน

และอาหารมื้อนั้นไม่มีรสชาติสำหรับเธอเสียแล้ว


แต่ถ้าคุณบอกกับเธอว่า

ถ้าซักไม่ออกก็ไม่เป็นไรหรอก

เมื่อผมหยิบเสื้อขึ้นมาใช้ครั้งใด

ผมจะหวนนึกถึงร้านอาหารนี้ทุกครั้งไปที่ได้มีโอกาสมาทานข้าวกับคุณ

และได้คิดถึงทุกครั้งว่าภรรยารักและเอาใจใส่ผมมาก เท่าใด

อยากปรนนิบัติเอาใจ (จนเทซอสหกใส่ผม)

แต่ว่าคราวหน้าออกมาทานข้าว

ผมจะเป็นคนเทซอสให้คุณมั้งล่ะ (ทีนี้ตาผมมั่ง)ร

อยยิ้มจากหัวใจของเธอได้เริ่มโบยบินแล้ว

แค่นี้คุณก็ลงโทษเธอให้ระวังมากขึ้นแล้ว


สิ่งที่มีค่าต่อชีวิตคนเรานั้นไม่ใช่

นาฬิกาเรือนละแสนหรือเนคไทเส้นละหลายๆพัน

แต่เป็นความอบอุ่นในหัวใจที่คุณรู้ว่ามีใครคนหนึ่ง

เฝ้ารักเฝ้าถนอมความรู้สึกคุณอยู่ตลอดเวลาต่างหากแล้วคุณล่ะ

เคยลงโทษใครด้วยความรักหรือเปล่า


ได้อ่านบทความนี้แล้ว มีรู้สึกดี ๆ เลยนำมาให้อ่านกัน

หากใครเคยอ่านแล้วก็ไม่เป็นไรนะ

หากครั้งนี้ลองอ่านดูอีกครั้งแล้วพินิจด้วยใจ

บางครั้ง....เราอาจเคยตั้งคำถามหนึ่งขึ้นในใจว่า

มนุษย์เรา ...เกิดมาเพื่ออะไร

บทความนี้อาจเป็นคำตอบที่ดีสำหรับคุณ...ก็เป็นได้


ขอมอบบทความนี้ให้กับผู้มีหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ทุกท่าน

: ที่มาจาก ThaiSEOBoard.com

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร
( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )

อายาวะโลกิติซัวรา โบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน
วียาวะโลกิติสมา ปัญจะ สกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา
อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะ สูญนิยะตา อีวารูปา
รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง
ยารูปัง สา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง
อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม
อีฮา สารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา
อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนา อาปาริปุนา
ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานา วียานัม
นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง
สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา
นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียา เจียโย
ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย
นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ
นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม
ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา
จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส
วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม
ทรียาวะ เรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา
อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิ สัมโบดา
ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา
มหาวิทยะ มันทรา อะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา
สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิ เจียจัว
ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ
"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โบดิซัวฮา"

.....................................................................................

คำแปล
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า
และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้สารีบุตร
รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป รูปคือความว่างนั่นเอง
และความว่างก็คือรูปนั่นเอง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ก็เป็นดังนี้ด้วย สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง
ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลงไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก
ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา
หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น
ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส
ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ
ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย
และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์
และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์
และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์
ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึงพระโพธิสัตว์
ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น
พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา
ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา
ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และ
ไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า
เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวงนี่เป็นสัจจะ
เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น
จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา
คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกาน

..........................................................................................

อานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

1.เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
2.เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
3.เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย
เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน และ ต้องการตั้งสติขจัด
ความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า
"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา"
ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ท่านกล่าวว่าท่านสวดบทนี้
เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย
ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6155

มิตร

ในท่ามกลางความโศกเศร้านั้น มีสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่ชวนชื่นใจ บทโศลกสั้นๆนี้คงพอสื่อความหมายได้ “สิ่งที่หายากยิ่ง....คือมิ่งมิตร” เพื่อนจริงๆ นั้นหายากมิใช่ง่ายเลย อย่าคิดว่ามีเงินแล้วจะหว่านซื้อมิตรได้ เราเอาเงินไปให้เพื่อนมารักเรา เขาก็เลยรักเงินของเราแทนเรา เพื่อนที่แท้จริงนั้นเรียกว่าเพื่อนใจ หรือ “ยาใจ” เคยได้ยินหรือเปล่า ยอดยาจิตรยาใจ เป็นผู้หญิงที่เรารักหรือผู้ชายที่เรารัก คำว่า “ยาจิตร” แยกเป็นสองศัพท์ คือ “ยา” หรือ “ยารักษาโรค” กับ “จิตใจ” “ยาใจ” หมายถึงสิ่งที่เยียวยาจิตใจ เพราะเราได้พบเพื่อนที่แท้จริง เราจะเริ่มหายโศกเศร้าเพราะได้กัลยาณมิตร ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นง่ายๆ เมื่อพระอานนท์ถวายงานพัดพระพุทธองค์อยู่ ท่านได้แสดงความรู้และความเข้าใจให้พระพุทธเจ้าทราบว่า กัลยาณมิตรเป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ “พรหมาจรรย์” หมายถึงชีวิตที่ประเสริฐ เล็งเอาศีลสมาธิ ปัญญา และเอาความหลุดพ้นอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามว่าอย่ากล่าวเช่นนั้น แท้จริงกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ เป็นรุ่งอรุณของอริยธรรม พบเพื่อนที่ดีโดยเฉพาะเพื่อนที่รู้แจ้ง ถ้าเราคบหากับบุคคลที่เรารู้แจ้ง เท่ากับเราได้กระจกส่องตัวเอาเองอย่างดี คือเราเข้าใกล้ผู้นั้นให้มาก เราค่อยๆ รู้จักตัวเองทีละน้อย โดยทั่วไปเราอาจมีมิตรที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า “ปาปมิตร” คือมิตรที่เป็นบาป มิตรเลว มิตรชักจูงในทางเสื่อม ทางธรรมนั้น ถือว่า วิปัสสนาเป็นยอดของกุศล ผัวเมียที่เจริญวิปัสสนา พ่อกับลูกร่วมเดินทางเดียวกัน แม้หัวคิดต่างกัน ความรู้ต่างกันนั้นก็จริง แต่การตื่นของใจที่สว่างไสวไล่เลี่ยกันแล้ว ในที่สุดก็จะกลายเป็นใจเดียวกัน สองคนสองหัวแต่ใจเดียวกัน เป็นยาจิตรยาใจของกันและกัน รู้ใจกัน หัวคิดที่ต่างกันนั้นดี ช่วยเสริมสร้างป้องกันทางความคิด แต่ขอให้เป็นใจเดียวกัน ตราบใดที่ยังเป็นใจเดียวกัน จะขัดกันบ้างทะเลาะกันบ้างก็เป็นไรมี คนที่ร่วมใจกันคือร่วมทางกัน ผู้ร่วมทางคือคนที่ร่วมใจกัน เพราะว่าทางนั้นเป็นทางเดินของใจ ทางออกของความคิดเป็นเหมือนประตูกล สลับซับซ้อนเต็มไปด้วยซอกซอย แต่ทางของหัวใจนั้นง่ายๆ และตรงดี

เขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

(ที่มา “ยอดยาใจ” ในภาคผนวกของ ปรีชาญาณของผู้ไม่รู้หนังสือ (หลวงพ่อเทียนที่ข้าพเจ้ารู้จัก), พิมพ์ครั้งที่ ๒, หน้า ๘๓-๘๔)

ทุกข์ เพราะ...


สามีภรรยาคู่หนึ่งรักใคร่กันดี แต่พอประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ก็เริ่มมีปากเสียงกันและมากขึ้นๆ จนภรรยาทนไม่ได้ขอกลับไปอยู่กับแม่ ต่อมาเมื่อสามีได้อ่านหนังสือ “ทุกข์เพราะคิดผิด” ก็ได้คิดสำนึกรู้ตัวว่าตัวเองก็ผิดมากเพราะใช้อารมณ์และบ่นมากไป จึงไปเจรจาขอให้ภรรยากลับบ้าน แต่ภรรยาไม่ยินยอม คงพูดถึงเรื่องเก่าๆ ด้วยความเจ็บใจ สามีก็เป็นทุกข์เพราะทั้งห่วงและหวงภรรยา จึงมีจดหมายมาปรับทุกข์กับพระอาจารย์ พระอาจารย์สอนว่า อาตมาได้รับจดหมายจากคุณโยมแล้ว รู้สึกว่าเห็นใจคุณโยมเหมือนกัน แต่ว่าคุณโยมก็ควรพิจารณาให้เข้าใจ และยอมรับความจริงของชีวิต คุณโยมคงจะรู้สึกเป็นทุกข์และคิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคร้ายมากคนเดียวในโลก แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่คุณโยมกำลังประสบอยู่ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกชีวิต ไม่มากก็น้อย ไม่ปัจจุบันก็ในอนาคต ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ความรู้สึกผิดหวัง ไม่สมปรารถนา เสื่อมลาภ ทุกข์ เป็นโลกธรรมฝ่ายที่ให้โทษ แต่ทุกคนก็ล้วนต้องประสบ ถ้าเราศึกษาพุทธประวัติ จะพบว่าแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ประสบเหมือนกัน เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จหนีออกจากวังไปบวชเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่นนั้น แม้ว่าเป็นเจตนาที่ดีก็ตาม แต่เมื่อดูความรู้สึกของพระบิดา พระมเหสี พระโอรส และพระญาติของพระองค์ ก็คงมีความรู้สึกเหมือนคุณโยมในปัจจุบันนี้เช่นกัน นอกจากนั้น ลูกศิษย์ของพระองค์เองคือ พระเทวทัต ก็ได้พยายามฆ่าพระองค์อยู่หลายครั้ง และมีช่วงหนึ่งพระราชาผู้ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของพระพุทธองค์มีเหตุให้ต้องยกกองทัพไป ฆ่าพระญาติของพระองค์ทั้งหมด พระพุทธองค์ได้ทรงห้ามถึง 3 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 4 พระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นกรรม ไม่สามารถห้ามได้ เป็นเหตุให้ราชวงศ์ศากยะถูกฆ่าหมด พระพุทธองค์หมดสิ้นพระญาติตั้งแต่บัดนั้น และครั้งหนึ่งพระองค์เสื่อมเอกลาภถึงขนาดที่ทั้งพระองค์และหมู่ภิกษุต้อง ฉันอาหารที่ใช้เลี้ยงม้าตลอดทั้งพรรษา ในบางพรรษา ลูกศิษย์ของพระพุทธองค์มีเรื่องขัดแย้งถึงแตกสามัคคีกัน พระองค์ทรงห้ามอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่าตามลำพัง อีกครั้งหนึ่งที่โลกธรรมฝ่ายที่เป็นโทษเกิดแก่พระพุทธเจ้า คือเมื่อ พระองค์ถูกชาวเมืองนินทาว่าร้าย เพราะถูกนักบวชนอกศาสนาใส่ความว่า พระองค์ทำให้อุบาสิกาตั้งท้อง ให้คุณโยมน้อมพิจารณาดู แม้แต่พระพุทธองค์ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาบุรุษของโลก ชีวิตของพระองค์ก็ไม่ราบรื่นเช่นกัน พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสอนว่า “ชีวิตเป็นทุกข์” “ทุกข์สัจจะ” ได้แก่ 1. ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ 2. ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ 3. ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ 4. ความผิดหวัง ไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ก็เป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความจริงของชีวิต เราจึงควรยอมรับความจริงเหล่านี้ ไม่มีชาวโลกคนใดจะหนีพ้นได้ ปัญหาคุณโยมกับภรรยานั้น ถ้าพูดถึงความถูกผิดแล้ว ต่างก็ผิดเหมือนกัน ถูกผิดเท่ากัน ดังนี้ ต่างคนควรหาข้อเสียของตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นความพอดีกับการกระทำที่แต่ละคนได้ทำมา ถ้าผิดฝ่ายเดียว ปัญหาคงไม่เกิด เหมือนกับตบมือข้างเดียว เสียงย่อมไม่ดัง ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ ประการที่หนึ่ง ทำความรู้สึกปล่อยวาง เพื่อให้ใจสงบ ประการที่สอง เจริญเมตตา พยายามส่งกระแสใจที่เป็นความปรารถนาดี เป็นความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่ภรรยา อาจใช้วิธีนึกเห็นมโนภาพ เห็นหน้าเห็นตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใจของเขา ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนกับใคร ขอให้เขามีความสุข ให้พยายามเจริญเมตตา คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งแก่ตัวเราเองและแก่ภรรยา ผลก็คือ ตัวเราก็จะเกิดความสุขด้วย ประการที่สาม ถ้าพูดในระยะยาวถึงเรื่องภพชาติแล้ว คุณโยมและภรรยาคงเคยผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตชาติ จึงเป็นเหตุให้ชาตินี้ได้เป็นสามีภรรยากัน และต่อไปในชาติหน้าก็อาจจะได้ใช้ชีวิตร่วมกันอีก ถ้าคุณโยมไม่แก้ปัญหาให้เกิดความเข้าใจกัน ไม่ได้ให้อภัยและอโหสิกรรมให้แก่กันในชาตินี้ ชาตินี้เป็นอยู่อย่างไร ชาติหน้าก็จะเป็นเหมือนกับที่เป็นอยู่ในชาตินี้เช่นกัน ใครได้เปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะเสียเปรียบ ใครเสียเปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะได้เปรียบ เรื่องกรรมก็เป็นเช่นนี้ ใครฆ่าเราในชาตินี้ ชาติหน้าเราก็ฆ่าเขา ถ้าชาตินี้เขาทอดทิ้งเรา ชาติหน้าเราก็ทอดทิ้งเขา ถ้าชาตินี้ใครนอกใจเรา ชาติหน้าเขาก็จะถูกนอกใจเช่นกัน เรื่องที่คุณโยมประสบอยู่ในขณะนี้ ชาติก่อนคุณโยมอาจเป็นฝ่ายทำเขาก่อนก็เป็นได้ ดังนั้น ถ้าเรามองจากทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาวแล้ว ต่างคนจึงต่างเป็นผู้ผิด เหมือนไก่กับไข่ซึ่งไม่มีเงื่อนงำว่าอะไรเกิดก่อนกัน ในเรื่องนี้ก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิดก่อนกัน เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว พิจารณาดูจะเห็นว่า สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะถ้ายังอยู่ในสภาพนี้ ชาติต่อๆ ไป ก็จะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป ทำให้ต้องทุกข์ต่อไปหลายภพหลายชาติ ผู้ที่ไม่ประมาทจึงควรแก้ปัญหาในชาตินี้ ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ คือคิดแก้ปัญหาที่ตัวเราก่อน แก้ที่ใจเรา สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ (1) ยอมรับความจริงดังกล่าว (2) ปล่อยวางอดีต ให้เหมือนกับไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น (3) ให้อภัย เจริญเมตตา ไม่ถือโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาทเขา (4) ทำใจเราให้สงบ เมื่อทำได้เช่นนี้จริงๆ เราจะอยู่ด้วยกันในชาตินี้ก็ดี ชาติหน้าก็ดี ก็อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุขได้ การคืนดีกันในชาตินี้ จะได้หรือไม่ ไม่ควรถือว่าสำคัญ ขอให้เรามีจิตใจที่จะคืนดีแก่เขาอยู่ในตัวเราก่อน ปฏิบัติตนเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี จนเขารู้จัก เข้าใจ และเห็นใจเรา และควรจะปฏิบัติให้มีการอโหสิกรรมแก่เขา ซึ่งก็เหมือนช่วยตัวเองด้วย อย่างน้อยเราก็จะมีชีวิตที่เป็นสุขได้ ในเรื่องภรรยาและลูกก็ไม่ต้องห่วงอะไรมากนัก ขณะนี้เราอาจจะมีความรู้สึกว่าเขาหนีจากเราไป ถ้าลองเปลี่ยนความคิดดู “พลิกนิดเดียว” ลองคิดว่า เราจะหนีจากเขาบ้าง ลองมาบวชดูชั่วคราว หรือจะบวชตลอดไปก็ได้ ถ้ามีความสุข เพราะความสุขความสบายจากการอยู่คนเดียวก็มีเหมือนกัน อย่างที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “การไม่มีภรรยา เป็นลาภอันประเสริฐ” ถึงจะอยู่คนเดียว ก็พยายามอยู่ให้มีความสุข เขาจะกลับมาก็ได้ ไม่กลับมาก็ได้ สุดท้ายนี้ ขอให้คุณโยมพิจารณาให้ดีๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพุทธธรรม สมเหตุ สมผล และขอให้บรรเทาทุกข์ พ้นทุกข์โดยเร็วๆ นี้ ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป
..... เจริญพร


คัดลอกบางตอนมาจาก :: หนังสือพลิกนิดเดียว ตอนพระอาจารย์ตอบจดหมายโยม http://www.dhammajak.net/book/gavesako02/ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=555

ทำใจให้บริสุทธิ์

ทุกคนน่าจะเคยได้ยินหรือน่าจะเคยได้ออกปากพูดด้วยตัวเองว่า คนนั้นใจสกปรก คนนี้ใจสะอาด หรือบางทีว่า คนนั้นใจสูง คนนี้ใจต่ำ ใจสูงก็มีความหมายเดียวกับใจสะอาด ใจต่ำก็มีความหมายเดียวกับใจสกปรกนั่นเอง ตามภาษาหรือตามตัวหนังสือ ก็แยกออกได้เป็นคำสองคำหรือสองส่วน คือใจดำหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง สูงหรือสะอาดคำหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง ต่ำหรือสกปรกคำหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง ภาษาหรือตัวหนังสือแบ่งออกเป็นสอง ความจริงก็แบ่งออกเป็นสองเหมือนกัน ใ

จอาจแยกออกจากความสะอาดหรือความสกปรกได้ เมื่อนำความสะอาดหรือความสกปรกออกจากใจ ก็เหลือแต่ใจแท้ๆ เหมือนแก้วน้ำใส่น้ำเปล่ากับแก้วใส่น้ำแดง ถ้าเอาน้ำเปล่ากับน้ำแดงออกเสีย ก็จะเหลือแต่แก้วเปล่า อันแก้วเปล่านั้นเมื่อเติมน้ำเช่น น้ำเขียวน้ำแดงหรือน้ำเปล่าก็ตามลงไปก็ย่อมปรากฏเป็นสีของน้ำ เช่นสีเขียวหรือสีแดง ถ้าใส่ไปที่ละเล็กละน้อย ก็จะค่อยๆ ปรากฏสีขึ้น เมื่อใส่อยู่ตลอดเวลา สีก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกที ถ้าเทออกเสียบ้างสีก็จะลดลงไปทุกที ตามจำนวนที่เทน้ำสีออก เทออกหมดเมื่อไรก็จะเหลือแต่แก้วจริงๆ เมื่อนั้น ใ

จก็เช่นเดียวกัน ก็จริงใจนั้นบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้าจับทำให้สกปรกไปตามกิเลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไร ใจก็สกปรกขึ้นเพียงนั้น นำกิเลสออกเสียบ้าง ใจก็จะลดความสกปรกลงบ้าง ทำกิเลสออกจากใจมาก ใจก็ลดความสกปรกลงมาก นำกิเลสออกหมดสิ้นเชิงก็ใจบริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพใจที่แท้จริง มีความผ่องใส พอจะเปรียบได้กับความใสของแก้วที่ปราศจากน้ำ เมื่อใจกับความสกปรกหรือกิเลสเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวชิ้นเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตนให้พ้นจากกิเลสได้ คือสามารถนำกิเลสออกจากใจได้ กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองของใจ คือโลภ โกรธ หลง นั้นนำออกจากใจได้จริง นำออกมากน้อยเพียงใดก็ได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยปัญญาเป็นสำคัญ ผู้มีปัญญา มีความเห็นชอบ เห็นถูก ย่อมเห็นว่ากิเลสเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมองจริง จึงไม่ควรปล่อยไว้

ในเมื่อไม่ต้องการมีใจเศร้าหมอง แต่ต้องการมีใจผ่องใส เป็นสุข โลภก็ตาม โกรธก็ตาม หลงก็ตาม ทำให้ใจเศร้าหมองทั้งสิ้น มีมากก็เศร้าหมองมาก มีน้อยก็เศร้าหมองน้อย ไม่มีเลยก็ไม่เศร้าหมองเลย ลองถามตนเองดูว่า ต้องการเป็นทุกข์เศร้าหมองหรือ ก็จะได้คำตอบแน่นอนว่า ไม่ต้องการเช่นนั้น แต่ต้องการเป็นสุข ผ่องใส ยิ่งเป็นสุขผ่องใสเท่าไรก็ยิ่งดี เป็นสุขผ่องใสตลอดเวลาก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ เมื่อได้คำตอบ รู้ความต้องการของตนเช่นนี้ ก็ให้ยอมเชื่อว่าการจะทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำเอง

วิธีทำคือเมื่อเกิดโลภ โกรธ หลงขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด และใช้ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้าก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมากโดยไม่จำเป็น

: บุญเป็นหลักใหญ่ของโลก
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ความสงบ

พากันตั้งใจฝึกหัดปฏิบัติตามความสามารถของตน ถ้าหากคนเราไม่ปฏิบัติธรรมะ ก็จะไม่รู้จักธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ความสุขอันใดจะเสมอเหมือนความสงบไม่มี คำนั้นเป็นคำจริง ถ้าหากปฏิบัติไม่ถึง พอจะเดาๆ คิดนึกเอาเฉยๆ ก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง อันความที่จะเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ จัง นี่เป็นของยากมาก ถึงหากเราเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง ถ้าหากปฏิบัติลงไปถึงตรงนั้นแล้วจะเชื่อขึ้นมา อ๋อ! ตรงนี้หรอกคำที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้นั้นว่ามีความสุข ความสงบ อย่างนี้เป็นต้น ความสงบนั้นมันมีจากไหน คนเราโดยส่วนมากมันยุ่งมันวุ่นวายสารพัดทุกสิ่งทุกอย่าง แส่ส่ายไปในที่ต่างๆ มันหาความสงบไม่ได้ เหตุนั้นคนที่เชื่อว่า ความสงบเป็นความสุข จึงค่อยมีน้อยนัก เพียงแต่เดาๆ คิดๆ นึกๆ ไปเฉยๆ ที่จะให้ถึงความสงบจริงๆ จังๆ มันต้องละทุกสิ่งทุกประการ อารมณ์ทั้งปวงวุ่นวี่วุ่นวายอยู่ในใจของตนหายหมด ไม่มีเกี่ยวข้อง ถึงซึ่งความสงบจริงๆ จังๆ ถ้ายังไปเกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ อยู่มันยังไม่ถึงความสงบขึ้นมาได้ ความตรงนี้ละที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าไม่เชื่ออย่างจริงๆ จัง เราฝึกหัดนี้ฝึกหัดหาความสงบ ทุกอย่างทุกประการที่อบรมมาก็เข้าหาความสงบอย่างเดียว ความไม่สงบมันมีมาก อย่างเราตั้งแต่เกิดขึ้นมาก็หาความสงบไม่ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งๆ ๒๔ ชั่วโมงจะเอาความสงบจริงๆ จังๆ สัก ๕ นาทีก็ยังดี ๑๐ นาทีก็ยังดี นั่นล่ะเห็นแจ้งความจริงของพระพุทธเจ้าที่ทรงเทศนาไว้จริงในใจของเราเลย

: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://www.thewayofdhamma.org/page3_1_2/7.html

อาศัยตัณหา เพื่อละ ตัณหา

ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ จึงได้แต่สร้างความไม่สงบและความทุกข์ต่างๆ ให้บังเกิดขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ เพื่อละตัณหา คือความดิ้นรนทะยานอยากปรารถนานั้นเสีย สำหรับผู้ที่ต้องการจะพบกับความสงบ และในขั้นสามัญก็ได้มีคำสอนอันแสดงไว้ว่า “ให้อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย” ความตัณหาละตัณหานั้น ก็หมายความว่า ให้ใช้ความดิ้นรนทะยานอยากในทางที่พบกับความสิ้นทุกข์ คือให้อยากพบความสิ้นทุกข์ อยากบรรลุมรรคผลนิพพาน อันความอยากดังกล่าวนี้ ถ้าเป็นความพอใจใคร่ที่จะปฏิบัติกระทำท่านเรียกว่า “ฉันทะ” เป็นอธิบาท คือธรรมที่ให้บรรลุถึงความต้องการที่มาก ฉันทะนี้ก็เป็นตัณหา และเมื่อแสดงอย่างละเอียดแม้ฉันทะดังกล่าวนั้นก็เป็นตัณหาอย่างละเอียดอย่างหนึ่ง แต่เป็นตัณหาในทางที่ดี ก็ให้อาศัยตัณหาในทางที่ดีเพื่อละตัณหาในที่สุด ในข้อนี้ได้มีการแสดงถึงการอาศัยฉันทะเพื่อละฉันทะ ดังที่ท่านพระอานนทเถระได้ตอบปัญหาที่มีผู้ถามว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” ท่านตอบว่า “เพื่อละฉันทะ” ผู้ถามก็ถามต่อไปว่า “การละฉันทะนั้นจะทำอย่างไร” ท่านก็ตอบว่า “ให้อบรมทำฉันทะให้บังเกิดขึ้น” ผู้ถามจึงแย้งว่า “คำตอบเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะทีแรกตอบว่าประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละฉันทะ แล้วทำไมจึงมาตอบอีกว่าให้ปฏิบัติอบรมทำฉันทะ” ท่านพระอานนท์จึงได้แสดงอุปมาว่า “การที่จะมาสู่อารามนี้ ผู้มาก็ต้องมีฉันทะที่จะมา ต้องมีความเพียรที่จะมา ต้องมีจิตตะที่จะมา ต้องมีความใคร่ครวญที่จะมา แต่ว่าครั้นมาถึงอารามนี้แล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ความเพียรก็สงบ จิตใจที่มาก็สงบ วิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาที่จะมาก็สงบ ฉะนั้นจึงละฉันทะอย่างนี้” ตามคำตอบของท่านนี้ ก็คือต้องอาศัยฉันทะในการที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ฉันทะนั้นก็สงบ ก็เป็นอันว่าละฉันทะ อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็เช่นเดียวกัน อาศัยตัณหา คือความอยากเพื่อที่จะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำ ครั้นทำเสร็จแล้ว ตัณหานั้นก็สงบ แต่ว่าต้องละตัณหาจึงจะพบกับความสงบ อันหมายถึงความสิ้นสุดกิจที่จะพึงทำนั้นได้ ฉะนั้น เมื่อยังมีตัณหาอยู่ก็ให้เป็นนายของตัณหา อย่าให้ตัณหาเป็นนาย ตัณหาเป็นนายนั้นเรียกว่า “ตณฺหาทาโส” แปลว่าเป็นทาสของตัณหา ความเป็นทาสของตัณหานั้นก่อให้เกิดความทุกข์ อันเป็นความไม่สงบด้วยประการทั้งปวง แต่ความเป็นนายของตัณหานั้น แม้ว่าจะมีความไม่สงบเพราะตัณหา แต่ก็สามารถควบคุมตัณหาได้ ไม่ให้ตัณหานำไปในทางที่ผิด เพราะว่าเมื่อมีความดิ้นรนทะยานอยากบังเกิดขึ้นก็ควบคุมได้ เพราะพิจารณารู้ว่าที่ดิ้นรนทะยานอยากไปอย่างนั้นถูกหรือผิด ถ้าเป็นไปในทางที่ผิด ก็งดเว้นไม่กระทำ สงบความอยากนั้นเสีย ถ้าเป็นไปในทางที่ถูกก็กระทำ ก็เป็นอันว่าเป็นนายของตัณหาควบคุมตัณหาได้ และเป็นการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสียด้วย ก็เพราะว่าเมื่ออยากจะทำกรณียะ คือกิจที่ควรทำอันใดอันเป็นกิจที่ดีที่ชอบ เมื่อกระทำเสร็จลงไปแล้ว ตัณหาในเรื่องนั้นก็สงบ เป็นอันละตัณหานั้นได้ พบความสงบไปชั้นหนึ่งๆ ดังนี้

: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

บุญบาปมีจริง และให้ผลจริง

บุญบาปมีจริง และให้ผลจริง นั่นก็คือกรรมมีจริง กรรมให้ผลจริง ผลของกรรมตรงตามเหตุจริง น่าจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนับครั้งนับหนไม่ถ้วน และก็น่าจะพากันลืมเสียสนิทอย่างนับครั้งนับหนไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน จึงพากันทำกรรมที่เป็นบาปอกุศลมิได้ว่างเว้น ลืมกลัวผลร้ายที่จะเกิดตามมา พากันเดือนร้อนด้วยผลร้ายแรงต่างๆ นานา โดยหารู้ไม่ว่านั่นเกิดแต่ตนได้ทำไว้ด้วยตนเอง เป็นการทำร้ายตนเอง มิใช่มีใครมาทำร้ายรังแกอย่างเป็นที่เข้าใจอยู่ทั่วไป พาให้ก่อกรรมอันเป็นบาปอกุศลเพิ่มขึ้นไม่รู้จบสิ้น ด้วยการคิดตอบโต้ผู้ที่คิดว่าเป็นผู้ทำร้านตนทั้งที่ความจริงทุกคนที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน หนักบ้างเบาบ้าง จากเหตุนั้นเหตุนี้หาใช่เป็นเหตุที่ผู้อื่นทำทั้งสิ้น ตนเองทำตนเอง แต่อาจมิใช่ในภพภูมิปัจจุบันที่จำได้ อาจเป็นภพภูมิในอดีตที่นานไกล ซึ่งไม่อาจระลึกรู้ได้ กลายเป็นผู้อื่นทำเราทั้งนั้น การตอบโต้ให้หายเจ็บแค้นจึงเกิดตามมาไม่จบสิ้นเป็นเวรเป็นกรรมต่อกันไม่รู้แล้ว กรรมหมายถึงการกระทำ ๓ ประการ คือ การกระทำทางกาย คือใช้ไม้ใช้มือ การกระทำทางวาจา คือพูด การกระทำทางใจ คือคิด ทำดีพูดดีคิดดีคือกรรมดี ทำชั่วหรือทำไม่ดี พูดชั่วหรือพูดไม่ดี คิดชั่วหรือคิดไม่ดีคือกรรมชั่วหรือกรรมไม่ดี ส่อแสดงให้เห็นจิตใจของผู้ทำดี ผู้พูดดี ผู้คิดดี ว่าเป็นผู้มีจิตใจดี และส่อแสดงให้เห็นจิตใจของผู้ทำไม่ดี ผู้พูดไม่ดี ผู้คิดไม่ดี ว่าเป็นผู้มีจิตใจไม่ดี นี้เป็นความจริง ปราชญ์ท่านจึงกล่าวว่า ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงภาษิตไว้ มีความว่า “โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงอยู่ในอำนาจแห่งจิตอย่างเดียว” ประโยชน์หรือวลีที่แทบทุกคนเคยเอ่ยปากพูด หรือไม่ก็เขียน หรือไม่ก็กราดเกรี้ยวอยู่ในใจ ก็คือไม่ได้อย่างใจเลย ไม่ได้ดังใจจริงๆ แสดงถึงจิตใจของผู้คนส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ของผู้เป็นปุถุชนทั้งปวงว่า ไม่ตั้งใจให้เป็นเหตุตรงตามที่ปรารถนาให้เกิดผล เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องไม่ได้อย่างใจ ดังที่เอยปากรำพันกันอยู่เป็นประจำ แทบจะไม่มียกเว้นเลยสักคน แม้ต้องการผลอย่างใด ต้องทำเหตุให้ตรง จึงจะได้อย่างใจ และทุกคนแน่นอนที่ต้องการแต่อะไรๆ ที่ดีที่งามทั้งนั้น เพื่อให้สมหวัง ให้ได้อย่างใจ จึงต้องทำเหตุที่ดีที่งาม ไม่เช่นนั้นก็ต้องผิดหวังต้องไม่ได้อย่างใจตลอดไป ผลย่อมเกิดแต่เหตุ แน่นอนเสมอ ทำเหตุใดย่อมได้รับผลนั้น ตรงตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว จะไม่เกิดผลที่ไม่ตรงตามเหตุที่ได้กระทำและไม่มีผลใดเกิดแต่เหตุที่ไม่ได้กระทำแล้ว และไม่มีเหตุใดที่ได้กระทำแล้วจะไม่ส่งผลให้เกิดตรงตามเหตุที่ได้กระทำ กล่าวสั้นๆ ดังปรากฏในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันแทบทุกเวลาก็คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แน่นอนเสมอไป

: ทำบุญแผ่นดินไทย ๒๕๔๕
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รักษาจิต รักษาอย่างไร

การประคองบาตรที่มีน้ำมันเต็ม แม้ไม่ตั้งสติระมัดระวังให้เต็มที่
ย่อมมีโอกาสที่น้ำมันจะหกออกนอกบาตร ทำความสกปรกเลอะเทอะให้เป็นอันมากฉันใด
การไม่รักษาจิตให้ดี กิเลสย่อมทำความเสียหายให้อย่างยิ่ง ฉันนั้น

ท่านจึงสอนให้รักษาจิตเหมือนคนประคองบาตรที่เต็มไปด้วยน้ำมัน
นึกถึงความจริงเวลามีน้ำมันหกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนเนื้อตัวเสื้อผ้าโดยเฉพาะ
ในขณะที่เนื้อตัวควรสะอาดเรียบร้อย ที่ไม่ควรให้ความสกปรกจนดูไม่ได้ปรากฏแก่สายตาผู้คนทั้งหลาย
จะรู้สึกอึดอัดอับอายเพียงใด การมีกิเลสล้นออกนอกจิตใจให้ปรากฏแก่ผู้คนทั่วไป
ยิ่งน่าอับอายกว่ามากมายนัก

การรักษาจิต คือการตามดูให้รู้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นเป็นความคิดที่ดีหรือที่ร้ายอย่างไร
เมื่อรู้แล้วให้หยุดความคิดที่ร้ายให้ได้โดยเร็วที่สุด
อย่าหาข้อแก้ตัวให้ความคิดเช่นนั้นเป็นอันขาด เพราะจะมีโทษสถานเดียว
ไม่มีคุณเลยแม้แต่น้อย ความคิดนั้นสำคัญนัก สำคัญจริงๆ สำคัญยิ่งกว่าอะไรอื่นทั้งหมด

เพราะความคิดเป็นสภาพที่เกิดกับใจ จะเข้าใจแบบง่ายๆ ว่า ความคิดคือใจ
ก็น่าจะเป็นการเข้าใจง่ายๆ แบบคนทั่วไป เมื่อความคิดก็คือใจ
ความคิดจึงเป็นใหญ่เป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยความคิด
เช่นเดียวกับที่พระพุทธศาสนาสุภาษิตแสดงไว้ว่า
ใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ

ความคิดมีทั้งคุณมีทั้งโทษ แก่ผู้คิดเองก่อนแก่ผู้อื่น
ความรักความสามัคคีปรองดองเหมือนน้องพี่ในหมู่คณะหนึ่งหมู่คณะใด
ก็อาจเกิดได้เพราะความคิดของผู้อยู่ร่วมหมู่คณะนั้น ที่เต็มไปด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อกันและกัน
คิดให้อภัยกันเมื่อเกิดความผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
ไม่ยกความผิดพลาดจะโดยบังเอิญหรือโดยตั้งใจของผู้ใดก็ตามมาคิดซ้ำเติมไปต่างๆ นานา
แต่คิดทุกอย่างที่จะอภัยให้แก่ความผิดพลาดนั้น ให้ใจไม่เพ่งโทษกัน
เช่นนี้กล่าวว่าความคิดไม่เป็นโทษ ความคิดเป็นคุณ จะให้ความสบายใจ
แก่ผู้คิดนั่นเองก่อนผู้อื่น ผู้ปรารถนาความสบายใจจึงพยายามคิดไปทุกแง่ทุกมุมที่จะ
ห้เกิดความสบายใจสมปรารถนา

: แสงส่องใจ ปีใหม่ ๒๕๓๙
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อัศจรรย์อุโบสถศีล

..........นางเอกุโปสติกาภิกษุณี ออกบวชเมื่ออายุได้ 7 ปี บวชแล้วไม่ทันถึงครึ่งเดือน
นางก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ..
หลายคนสงสัยว่า เหตุใดนางจึงได้บรรลุธรรมรวดเร็วอย่างนั้น

นางจึงเล่าประวัติ การเวียนว่ายตายเกิดของนางว่า เมื่อ 91 กัปป์ที่ผ่านมา
มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมาแล้ว 7 พระองค์ คือ พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า
พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมโนพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมะพุทธเจ้า
ของเราในสมัยนี้ ในสมัยพระเจ้าวิปัสสีพุทธเจ้า นางเอกุโปสติกาภิกษุณี
เกิดเป็นหญิงรับใช้ของพระเจ้าพันธุมมะ ผู้ครองนครพันธุมดี นางได้เห็นพระเจ้าพันธุมมะ
พร้อมด้วยอำมาตย์ ข้าราชบริพาร ทรงสละราชกิจมาสมาทานรักษาอุโบสถศีลในวันพระ

นางคิดว่า อุโบสถศีลนี้ น่าจะเป็นของดีวิเศษ เจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงสนใจสมาทานรักษาเป็นประจำ
นางคิดได้ดังนี้ จึงศึกษา และทำใจร่าเริงสมาทานรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ

ผลของการรักษาอุโบสถศีล ทำให้นางได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ มีวิมานอันสวยงาม
มีนางฟ้าแสนนางเป็นบริวาร มีผิวพรรณผุดผ่องดั่งทองคำ มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าอื่นๆ
ระหว่างที่นาง ยังท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่ว่าจะเกิดในภพใดชาติใด
นางจะเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถานทุกภพทุกชาติ ได้ที่อยู่อาศัยเป็นเรือนยอดปราสาทมณฑป
ได้ดอกไม้เครื่องหอม เครื่องลูบไล้ ของกินของใช้ไม่เคยอดอยาก ภาชนะเครื่องใช้ทำด้วยเงินทองแก้วผลึกแก้วปทุมราช
ผ้าไหมผ้าฝ้ายผ้าเปลือกไม้ล้วนแต่งามวิจิตรมีราคาสูง พาหนะ ช้าง ม้า รถ มีครบบริบูรณ์

ทุกอย่างเป็นผลบุญที่เกิดขึ้นจากการรักษาอุโบสถศีลในวันพระของนาง ตลอดเวลา 91กัปป์
นางมิได้ไปเกิดในทุคติภูมิเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์แปดที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลยิ่งใหญ่
มีอานิสงส์มหาศาล มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งนัก มีผลอานิสงส์แผ่ไพศาลมาก"

อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์ บรรดาคนร่ำรวยที่สุดในโลก
มหาเศรษฐี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ความร่ำรวยเหล่านั้น เ
มื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แล้ว ย่อมเป็นของเล็กน้อย
ทรัพย์สมบัติของเศรษฐีทุกคนในโลกรวมกัน ก็ไม่เท่าทรัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ท

รัพย์สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการรักษาอุโบสถศีล
ย่อมเป็นของเล็กน้อย คือ ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของผลบุญที่เกิดจากการรักษาอุโบสถศีล
เพราะสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นสมบัติมนุษย์ เป็นสมบัติหยาบ เป็นความสุขหยาบ ใ
ช้เวลาเสวยอย่างมากไม่เกินร้อยปี แต่ผลของอุโบสถศีล เป็นเหตุให้ได้สมบัติทิพย์ ความสุขก็เป็นทิพย์ด้วย
การเสวยสมบัติทิพย์ กินเวลายาวนานเป็นกัปป์เป็นกัลป์ บางทีเป็นนิรันดร์ (นิพพานสมบัติ)

ดังนั้น ชาย หญิงทั้งหลาย ผู้ได้สมาทานรักษาอุโบสถศีลย่อมได้ชื่อว่า ทำความดีอันมีความสุข เป็นกำไร
ไม่มีคนดีที่ไหนจะติเตียนได้ เมื่อสิ้นชีพไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์หกชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง

วิธีการรักษาอุโบสถศีล เมื่อวันพระเวียนมาถึง ให้ทำความตั้งใจว่า วันนี้เราจะรักษาอุโบสถศีล
เป็นเวลาสิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือตั้งแต่เช้าวันพระจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น เจตนาละเว้นจากความชั่ว
ทางกายวาจานั้นแลคือตัวศีล โดยปกติ วันพระ อุบาสก อุบาสิกา จะพากันไปสมาทานอุโบสถศีลที่วัด
พักอาศัยอยู่ที่วัดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถ้าไม่ได้ไปวัดก็ให้ทำสมาทานวิรัติ หรือเจตนาวิรัติอุโบสถศีลเอาเอง

สมาทานวิรัติ คือ ตั้งใจสมาทานศีลด้วยตนเอง จะรักษากี่วัน กำหนดเอง เว้นจากข้อห้ามของศีลเสียเอง
เจตนาวิรัติ คือ เพียงแต่มีเจตนาเว้นจากข้อห้ามที่ใจเท่านั้น ก็เป็นศีลแล้ว ไม่ต้องใช้เสียงก็ได้

สมาทานวิรัติ ดังนี้ เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวันทามิ สาธุ สาธุ สาธุ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระอริยสงฆ์
ตั้งแต่เวลานี้ไปจนถึง... ข้าฯ จะตั้งใจรักษาอุโบสถศีล อันประกอบไปด้วยองค์แปดประการ คือ

1. ปานาติปาตา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือไมทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป เป็นการลดการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน

2. อทินนาทานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการลักทรัพย์ คือไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เป็นการลดการเบียดเบียน ทรัพย์สินของผู้อื่น

3. อพรหมจริยา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการประพฤติอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ คือ ไม่เสพเมถุนล่วงมรรคใดมรรคหนึ่ง
(ถ้าไม่แตะต้องกายเพศตรงข้าม และไม่จับของต่อมือกันจะช่วยให้การฝึกสติสัมปชัญญะดียิ่งขึ้น)

4. มุสาวาทา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการพูดปด คือ พูดไม่ตรงกับความจริง

5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มสุราเมรัยของมึนเมาเสียสติ
อันเป็นเหตุของความประมาทมัวเมา

6. วิกาลโภชนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการดื่มกินอาหารในเวลาหลังเที่ยงไปแล้วจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น
เป็นการลดราคะกำหนัด และลดความง่วงเหงาหาวนอน

7. นัจจคีตวา ทิตตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธวิเลปานะ ธารณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
ข้าฯ จะเว้นจากการดูละครฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี ทัดทรงดอกไม้ลูบไล้ของหอม
เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ อันปลุกเร้าราคะ กำหนัดให้กำเริบ

8. อุจจา สะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี ข้าฯ จะเว้นจากการนั่งนอนเครื่องปูลาด อันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
และวิจิตรงดงามต่างๆ เป็นการลดการสัมผัสอันอ่อนนุ่มน่าหลงไหล อดความติดอกติดใจสิ่งสวยงาม
มีกิริยาอันสำรวมระวังอยู่เสมอ

ข้าฯ สมาทานวิรัติ ซึ่งอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้
เพื่อจะรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาด มิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้
ขอกุศลส่วนนี้ จงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ สาธุ

เมื่อวิรัติศีลแล้ว พึงรักษา กาย วาจา เว้นการกระทำ ตามที่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้จนสิ้น กำหนดเวลา
พยายามรักษากาย วาจา มั่นอยู่ในศีล อย่าให้ศีลข้อใดข้อหนึ่งขาด หรือทะลุด่างพร้อยมัวหมอง
ถ้ากระทำบ่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ศีลจะอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิจะอบรมปัญญาให้แก่กล้า
สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานได้..

ปัญหาในการรักษาศีล 8 คือ กลัวไม่ได้กินอาหารเย็น กลัวหิว กลัวเป็นโรคกระเพาะ
กลัวรักษาศีลไม่ได้แล้วจะยิ่งบาป ที่จริงแล้ว ผู้รักษาศีล 8 สามารถรับประทานน้ำปานะ คือ น้ำที่ทำจากผลไม้
ขนาดเล็กเท่าเล็บเหยี่ยว ขนาดใหญ่ไม่เกินส้มโอตำ หรือ คั้นผสมน้ำกรองด้วยผ้าขาวบางให้ดี 8 ครั้ง
ผสมเกลือและน้ำตาล พอได้รส หรือ รับประทานเภสัช 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย(น้ำตาล)
นอกจากนี้ยังรับประทานสิ่งที่เป็นยาวชีวิก ได้โดยไม่จำกัดกาล คือ รับประทานเป็นยา
ได้แก่ รากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะใคร้ ว่านน้ำ แฝก แห้วหมู น้ำฝาด เช่น น้ำฝาดสะเดา ใบมูกมัน
ใบกระดอม ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย ใบชะพลู ใบบัวบก ใบส้มลม ผลไม้ เช่น ลูกพิลังกาสา ดีปลี
พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ รวมยางไม้จากต้นหิงค์และเกลือต่างๆ

อานุภาพความดีเป็นอัศจรรย์ยิ่ง

ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ
ผู้ที่ทำบุญกุศลอยู่อย่างสม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความดี
และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ
เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์ จากแสงสว่างนั้น
แต่ถ้าตกค่ำมีความมืดมาบดบังแสงสว่างนั้น ย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไรๆ ได้
เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน
เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อมไม่อาจขจัดความมืดได้
ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้

ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคับขัน ย่อมสามารถดำรงตน อยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับความดีที่ทำอยู่
ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดี ซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่าง
อยู่ในความสว่างก็ไม่ได้รับความเดือดร้อน แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือที่คับขัน
ย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็น
ไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดี แตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง

การทำดีต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
เพราะไม่มีใครอาจประมาณได้ว่า
เมื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน ต้องการแสงสว่างจัดเพียงใด
ถ้าไม่ตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมายนัก มีแสงสว่างมากไว้ก่อน ก็ไม่ขาดทุน ไม่เสียหาย
แต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมาย แสงสว่างน้อย ก็จะไม่เพียงพอจะเห็นอะไรๆ ได้ถนัดชัดเจน
การมีแสงสว่างมาก จะช่วยให้รอดพ้นจากการสะดุดหกล้มลงเหวลงคู หรือ ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายจนถึงตายถึงเป็น

อานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้นเป็นอัศจรรย์จริง
เชื่อไว้ดีกว่าไม่เชื่อ และเมื่อเชื่อแล้ว ก็ให้พากันแสวงหาอานุภาพของความดี
หรือบุญกุศลให้เห็นความอัศจรรย์ด้วยตนเองเถิด

คัดลอกจาก...แสงส่องใจ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อานิสงส์การสร้างหนังสือ

ดังมีใจความว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี
ในเวลานั้นพระสารีบุตรเถระเจ้ามีความประสงค์ว่า
จักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม
ประกาศอานิสงส์สร้าง พระไตรปิฎก
ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัท
พระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถามแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา
จะมีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า

........ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ดูกรท่านสารีบุตร
ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไปแล้วก็จักรได้เสวยราชสมบัติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์
ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
ก็จะได้เป็นพระราชา มีอานุภาพอีก ๙ อสงไขย

ต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไป
คือตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี
และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย

ต่อแต่นั้นก็จะได้เสวยในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย
เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์
ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลายที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์
สุจริตปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง
และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
ดังนี้เป็นต้น

ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา
แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม
ได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา
ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น
สมเด็จพระปุราณโคดมบรมศาสดาทรงพยากรณ์ไว้ว่า
อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า
จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า
พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต
เรานี้เองดังนี้แลก็สิ้นสุดพระกระแสธรรมเทศนา
ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้



ที่มา : http://www.84000.org/anisong/28.html